การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเทคนิค K-W-D-L เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ดวงจันทร์ หลายแห่ง
นพพร ธนะชัยขันธ์
สุดาพร ปัญญาพฤกษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะ
การแก้ปัญหาด้วยเทคนิค K-W-D-L เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุด
กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเทคนิค K-W-D-L และเพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหา
ของนักเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเทคนิค K-W-D-L เรื่อง
อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/12 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยชุดกิจกรรมการ
เรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเทคนิค K-W-D-L เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน จำนวน 18 ชั่วโมง
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบทดสอบ
ทักษะการแก้ปัญหา ชนิดอัตนัยจำนวน 10 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเทคนิค K-W-D-L
ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพรวม 95.37/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุด
กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเทคนิค K-W-D-L คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อน
เรียน คิดเป็นร้อยละ 52.05 คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 82.50 ซึ่งคะแนนเฉลี่ย
ของการทดสอบ หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 30.45 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05


3. ผลการวัดทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
การแก้ปัญหาด้วยเทคนิค K-W-D-L นักเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 32.32 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 60% มี
ระดับคุณภาพไม่ต่ำกว่าระดับดี ซึ่งได้ระดับดีมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551ก). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
______. (2551ข). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
จิราภรณ์ อุปภา. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ธิดารัตน์ พินิจสุวรรณ. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรมสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์
ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารทศนิยมระคน โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา 5 ขั้น สําหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
อุตรดิตถ์.
นงคราญ ทองประสิทธิ์. (2541). ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษสําหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2557). สถิติเบื้องต้นสําหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
นิรันดร์ แสงกุหลาบ. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาทศนิยมและร้อยละ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 ที่จัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคK-W-D-L และตามแนว สสวท.
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
สิริพร ทิพย์คง. (2537). เอกสารการสอนวิชาแนวโน้มการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะศึกษศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โสภาวดี ทาประเสริฐ. (2555). ผลการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.