ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ครั้งนี้ ประกอบด้วยนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 36 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1,822 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratifed Random
Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้แบ่งเป็นแบบสอบถามทั้ง 3 ส่วน วิเคราะห์ข้อมูล
โดยการวิเคราะห์พหุระดับ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1 ปัจจัยระดับนักเรียน พิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างปัจจัยระดับนักเรียน
แต่ละตัวแปรกับการมีจิตสาธารณะของนักเรียน พบว่า ปัจจัยระดับนักเรียน ได้แก่ การขัดเกลาทางสังคม การ
มองโลกในแง่ดี การมีความรู้สึกรับผิดชอบ การเห็นคุณค่าในตัวเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีจิต
สาธารณะของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .830, .474, .747
และ .758 ตามลำดับ และทั้งนี้ปัจจัยระดับนักเรียนร่วมกันพยากรณ์การมีจิตสาธารณะของนักเรียนได้ร้อยละ
75.09
2 ปัจจัยระดับห้องเรียน เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างปัจจัยระดับ
ห้องเรียนแต่ละตัวแปรกับการมีจิตสาธารณะของนักเรียน พบว่า ปัจจัยระดับห้องเรียน ได้แก่ พฤติกรรม
การสอนของครู ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครู มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีจิตสาธารณะของนักเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .861 และ .741 ตามลำดับ และทั้งนี้ปัจจัย
ระดับห้องเรียนร่วมกันพยากรณ์การมีจิตสาธารณะของนักเรียนได้ร้อยละ 76.60
3 ปัจจัยระดับโรงเรียน เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างปัจจัยระดับโรงเรียน
แต่ละตัวแปรกับการมีจิตสาธารณะของนักเรียน พบว่า ปัจจัยระดับโรงเรียน ได้แก่ นโยบาย มีความสัมพันธ์
ทางบวกกับการมีจิตสาธารณะของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ
.973 และทั้งนี้ปัจจัยระดับโรงเรียนร่วมกันพยากรณ์การมีจิตสาธารณะของนักเรียนได้ร้อยละ 94.62
4. สมการพยากรณ์มีความสำคัญที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักเรียนในรูปคะแนนมาตรฐาน
ได้ดังนี้
โมเดลระดับนักเรียน (Within – Student Model)
Y = P0 + P1*(การขัดเกลาฯ) + P2*(การมองโลกฯ) + P3*(การมีความรู้สึกรับผิดชอบ)
+ P4*(การเห็นคุณค่าฯ) + E
Y = 3.524 P0 + 0.269 (การขัดเกลาฯ) + 0.075 (การมองโลกฯ) + 0.188 (การมีความรู้สึก
รับผิดชอบ) + 0.425 (การเห็นคุณค่าฯ) + 0.041
โมเดลระดับนักเรียน (Within – Student Model)
P0 = 3.524 + R0
P1 = 0.269 + R1
P2 = 0.075 + R2
P3 = 0.188 + R3
P4 = 0.425 + R4
โมเดลระดับห้องเรียน (Within – Class Model)
Y = B00 + B01*(สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน) + B02*(พฤติกรรมการสอนของครู) + R
Y = 3.485 + 0.466 (สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน) + 0.345 (พฤติกรรมการสอนของครู)
+ 0.017(R0)
โมเดลระดับห้องเรียน (Within – Class Model)
B00 = 3.485 + R0
B01 = 0.466 + R1
B02 = 0.345 + R2
โมเดลระดับโรงเรียน (Within – School Model)
B00 = G000 + G001 (นโยบายสถานศึกษา) + U00
B00 = 3.481*** + 0.778 (นโยบายสถานศึกษา) + 0.344 (U00)
โมเดลระดับโรงเรียน (Within – School Model)
G000 = 3.481 + R0
G001 = 0.778 + R1
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
10 ตุลาคม 2558, จาก https://lowersecondarymath.ipst.ac.th/wp-content/
uploads/2015/PDF/Curriculum%202551.pdf
กิจกานต์ สมรัตน์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดศรีสะเกษ : การวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปร
แฝงพหุระดับ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
บุญสม หรรษาศิริพจน์. (2555). การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตในมิติความสุข. (วิทยานิพนธ์ปรัชญา
ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
พรพรหม พรรคพวก. (2550). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4
ในสหวิทยาเขตกรุงเทพตะวันออก. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
พิริยา นิลมาตร. (2550). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาสารคาม.
ภารดี อนันต์นาวี. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
ยรรยง ภูกองพลอย (2550). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ศรีสะเกษ.
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ. (2551). รายงาน
ผลการสำรวจเรื่อง สถานภาพคุณธรรมของประชาชนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
อัสสัมชัญ.
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร, ประทีป จินงี่ และทัศนา ทองภักดี. (2547). รูปแบบการพัฒนานักเรียนระดับ
ประถมศึกษาให้มีจิตสาธารณะ : การศึกษาระยะยาว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2552). รายงานการเสนอผลงานวิจัยเรื่อง จิตสาธารณะนักศึกษามหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.