การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น : การกระจายอำนาจกับการควบรวมกิจการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภายหลังการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(คสช.) ได้เร่งรัดปฏิรูปประเทศในทุกด้านที่มีปัญหาอุปสรรคขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ในส่วน
ของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แนวความคิดกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นปกครองตนเองตามหลัก
การประชาธิปไตย จนถึงระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีขนาดเล็กที่สุดในพื้นที่ คือ องค์การ
บริหารส่วนตำบล (อบต.) ในปัจจุบันเกิดมีมุมมองว่า การบริหาร อปท. เกิดข้อบกพร่องหลายประเด็น ดังเช่น
ปัญหารูปแบบโครงสร้าง ปัญหาการเงินการคลัง ปัญหาการทุจริต การคอรับชั่น ปัญหาการบริการสาธารณะ
ไม่เป็นธรรม ไม่เสมอภาค การเมืองท้องถิ่น กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลจึงมีแนวคิดควบรวม
อปท. ด้วยการควบรวม อปท. ที่มีขนาดเล็ก ประชากรน้อย รวมกันเป็นรูปแบบ อปท. ใหม่ เพื่อที่จะให้ อปท.
มีศักยภาพทางการบริหาร เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมรัฐต้องมีการควบรวม อปท.
เป็นการลดการกระจายอำนาจจากภาครัฐหรือไม่ และการควบรวม อปท. รัฐและประชาชนจะได้ประโยชน์
อย่างไร
ผลจากการศึกษา ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการควบรวม พบว่า เป็นการควบรวม อปท. ระดับล่าง
ยุบเลิก อปท. รูปแบบ อบต. และปรับควบรวมกับ อปท. ใกล้เคียง เป็นรูปแบบ เทศบาล ให้เป็น อปท. มาตรฐาน
เดียวกัน และไม่มีผลต่อการลดการกระจายอำนาจจากภาครัฐ โดยมีรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการ
ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่นเสนอเป็นประเด็นในการแก้ไขปัญหาการบริหาร
การปกครองท้องถิ่นปัจจุบัน สนับสนุนแนวคิดให้มีการปฏิรูปท้องถิ่นด้วยการควบรวม อปท. ซึ่งรัฐหวังผลใน
การใช้ทรัพยากรการบริหารให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ของการบริการกิจการ
สาธารณะจากภาครัฐได้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม และเสมอภาค แต่ทั้งนี้การควบรวม อปท. ยังไม่มีผลการแสดง
ถึงแนวคิดการคัดค้านการควบรวม อปท. จากประชาชนเจ้าของประเทศอย่างเด่นชัด ตามหลักการ
ประชาธิปไตยที่ให้อำนาจการปกครองเป็นของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมการบริหารได้อย่างยุติธรรม
จึงมีข้อเสนอแนะพิจารณาเห็นว่า ด้วยเป็นเรื่องสำคัญกับความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง การปฏิรูปด้าน
การปกครองท้องถิ่นด้วยการควบรวม อปท. ควรที่จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน เกี่ยวกับแนวคิด
ของการควบรวม อปท. และจัดทำประชามติตามแนวทางที่กฎหมายบัญญัติ เพื่อเป็นแนวทางขั้นตอนการออก
พระราชบัญญัติบังคับใช้ต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
รูปแบบและโครงสร้าง. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2560, จาก กรมส่งเสริมการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น: http://dla.go.th./rork/abt
โกวิทย์ พวงงาม. (2555). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 8).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ดิกสัน, แอนเน็ต. (2012). รายงานของผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย (เวิลด์แบงก์).
สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2560, จาก ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย (เวิลด์แบงก์):
http://thaipublica.org/tag
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2540). 100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2440 - 2540. กรุงเทพฯ:
โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ไทยพัลปริกา (Thaipublica). (2555). รายงานธนาคารโลก ชี้ประเทศไทยบริหารงบประมาณรัฐบาล
กลาง-ท้องถิ่นไร้ประสิทธิภาพสร้างความเหลื่อมล้ำ 11 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ
12 ธันวาคม 2560, จาก ไทยพัลปริกา (Thaipublica): https://thaipublica.org/2012/05/
world-bank-
พิมพ์วิไล ลัดดาวัลย์. (2554). ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ทำให้การควบรวมกิจการประสบความสำเร็จ
กรณีศึกษา ธนาคารธนชาติกับธนาคารนครหลวงไทย. (วิทยานิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2560). การกระจายอำนาจ. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2560, จาก นครินทร์
เมฆไตรรัตน์: http://wiki.kpt.ac.th/index.php?title
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2554). ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ........ และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ
11 ธันวาคม 2560, จาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/
M10_172.pdf
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, เมษายน 6). ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 74.
สภาปฏิรูปแห่งชาติ. คณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น. (2558). แนวทางการปฏิรูปการกระจาย
อำนาจและการปกครองท้องถิ่น (รอบ 2). สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2560, จาก สภาปฏิรูป
แห่งชาติ: http://thailocalmeet.com/bbs/pdf/59