การศึกษาพฤติกรรมการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยงของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ผู้ให้ข้อมูลสำหรับงานวิจัย ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการสอนด้านเทคนิคและวิธีสอนระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักศึกษามีการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน พฤติกรรมการสอนด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักศึกษายอมรับและให้ความสำคัญในผลงานของนักเรียนทุกคน พฤติกรรมการสอนด้านการใช้สื่อการเรียนการสอนระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักศึกษาใช้สื่อที่ผลิตเอง และพฤติกรรมการสอนด้านการวัดและประเมินผลระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักศึกษาได้ใช้แบบทดสอบอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ครูสร้างขึ้นเอง 2) ความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยง พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพปฏิบัติงานได้ดีและมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนดี และให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดการอบรมเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้และทักษะอย่างพอเพียงที่ก่อนจะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) ปัญหา ที่นักศึกษาพบในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คือ ปัญหาด้านการควบคุมชั้นเรียน นักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหา ที่สอน ห้องเรียนมีขนาดแคบ สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ และความสามารถในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และการใช้ภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนสอนในห้องเรียน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (พ.ศ. 2549–2553). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559,
จาก กระทรวงศึกษาธิการ: http://www.moe.go.th/webstudyenglish/peng_2549-2553.
doc
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). วิชาชีพครู. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์:
http://www.kriengsak.com/node/544
จันทร์ชลี มาพุทธ. (2553). การเรียนรู้แบบบรูณาการด้วย Storyline Approach. สืบค้นเมื่อ
20 ธันวาคม 2559, จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: http://www.pharmacy.cmu.ac.th.pdf
ชยานนท์ มนเพียรจันทร์. (2543). พฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษของครูในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
ชุติรัตน์ เจริญสุข. (2545). ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน
สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงตามความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษา. (วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.
กรุงเทพฯ: แอล.ที.เพรส.
นวพร ชลารักษ์. (2559). สภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของครูไทยระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1.
วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาอีสเทิร์น, 10(2), 130 - 141.
ปนัดดา อามาตร. (2560). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการ1เรียนการสอนของโรงเรียนขยายโอการ
ทางการศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์.
ปราณี อมรรัตนศักดิ์. (2542). ปัญหาและอุปสรรคของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย
รามคำแหง. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปารณีย์ ขาวเจริญ. (2560). การศึกษาสภาพการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย
ฟาอีสเทิร์น, 11(1), 99 - 108.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542, สิงหาคม 14). ราชกิจจานุเบกษา. แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. ตอนที่ 74 ก. หน้า 18.
พัฒนา จันทนา. (2542). พฤติกรรมการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาเอก
สังคมศึกษา ภาควิชามัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่:
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยุดา รักไทย. (2552). การสอนทักษะการฟัง. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก https://sites.google.
com/site/uraiwaneng04/kar-sxn-thaksa-kar-fang
วนิดา แสวงผล. (2542). การศึกษาพฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
วัฒนาวรรณ จันทระกุล. (2536). ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อการสอนของครู
ผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2554). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 -
2565). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
_______. (2557). สรุปผลการประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ:
สำนักงานฯ.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.