การศึกษาเปรียบเทียบคำเรียกผีและการตั้งชื่อผีในวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผีของไทยกับจีน

Main Article Content

เม่าไห่ จง
สมเกียรติ รักษ์มณี
บุญเลิศ วิวรรณ์

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคำเรียกผีและการตั้งชื่อผีในภาษาไทยกับภาษาจีน 2) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องผีในวัฒนธรรมไทยกับจีน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบด้วยเอกสารภาษาไทย และภาษาจีน ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเอกสาร และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ที่มาและความหมายของชื่อผีไทย จำแนกได้ 9 ประเภท ได้แก่ ลักษณะรูปร่าง สถานที่ สาเหตุการตาย ความเชื่อ ตำนานหรือเรื่องเล่า ภาษาต่างประเทศ เสียงร้อง สถานที่กับลักษณะรูปร่าง พบว่า ตำนานหรือเรื่องเล่ามากที่สุด รองลงมาคือ ความหมายชื่อผีเกี่ยวกับสถานที่ ด้านกลวิธีการตั้งชื่อผีไทยพบการใช้คำมูล การประสมคำ และการใช้คำยืม โดยพบการประสมคำมากที่สุด พบการใช้คำยืมรองลงมา 2) การวิเคราะห์ที่มาและความหมายของชื่อผีจีน จำแนกได้ 5 ประเภท ได้แก่ ลักษณะรูปร่าง สถานที่ สาเหตุการตาย ความเชื่อ ตำนานหรือเรื่องเล่า พบว่า ลักษณะรูปร่างมากที่สุด รองลงมาคือตำนานหรือเรื่องเล่า ด้านกลวิธีการตั้งชื่อผีจีนพบการใช้คำมูล และการประสมคำ โดยพบการประสมคำมากที่สุด พบการใช้คำมูลรองลงมา 3) การวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องผีในวัฒนธรรมไทย พบความเชื่อ 8 ประเด็น ได้แก่ผีมีฤทธิ์และอำนาจอยู่เหนือคน ผีสามารถให้คุณหรือให้โทษแก่คนได้ ผีต้องมีที่อยู่อาศัย ผีต้องกินอาหาร ผีสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนได้ ผีมีลักษณะรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว ผีมีชนชั้น และคนสามารถแตะต้องผีได้ 4) การวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องผีในวัฒนธรรมจีน พบความเชื่อ 8 ประเด็น ได้แก่ ผีมีฤทธิ์และอำนาจอยู่เหนือคน ผีสามารถให้คุณหรือให้โทษแก่คนได้ ผีต้องมีที่อยู่อาศัย ผีต้องกินอาหาร ผีสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนได้ ผีมีลักษณะรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว ผีมีชนชั้น และคนสามารถแตะต้องผีได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยาคม (นามแฝง). (2559). ชนแล้วหนี. เรื่องผีและวิญญาณ, 29(690), 14-17.
กฤษณา สินไชย. (2545). แดนดินถิ่นไทย : ชื่อบ้านนามเมือง. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.
ขุนช้างขุนแผน. (2544). พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2530). คติชาวบ้าน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนคริรทรวิโรฒมหาสารคาม.
จิน เส้าหลิน. (2534). แช่ร้อยแปด. ศิลปวัฒนธรรม, 12(8), 54-55.
จินตนา ยอดยิ่ง. (2519). ประวัติของชื่อตำบลและหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่.
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ชาญชัย คงเพียรธรรม. (2556). เรื่องผีในอีสาน : ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีของกลุ่มชาติพันธุ์
ลาว เขมร ส่วย และเวียดนาม ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอีสานใต้ของประเทศไทย. อุบลราชธานี:
งานส่งเสริมการวิจัยและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เด็กดอย (นามแฝง). (2556). นางกวักเฝ้าบ้าน. เรื่องผีและวิญญาณ, 26(610), 13.
ธีรพงษ์ บัวหล้า. (2545). วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ของคนไทย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นารีรัตน์ เลิศชัยวรกุล. (2548). การศึกษาเปรียบเทียบการตั้งชื่อหมู่บ้านในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
บุษกร บิณฑสันต์. (2554). ดนตรีภาคใต้ : ศิลปิน การถ่ายทอดความรู้พิธีกรรมและความเชื่อ.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผะอบ โปษะกฤษณะ. (2538). ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
ภาวิดา (นามแฝง). (2556). หมู่บ้านผีดิบ. เรื่องผีและวิญญาณ, 26(617), 55-56.
มัลลิกา คณานุรักษ์. (2550). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
มาลา คำจันทร์. (2551). ผีในล้านนา. กรุงเทพฯ: บุ๊คเวิร์ม.
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2552). ภาษาศาสตร์ภาษาไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อ
พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล .
ลิลิตพระลอ. (2513). พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
ศูนย์สุโขทัยศึกษา. (2520). จารึกสุโขทัย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.
ส. พลายน้อย (นามแฝง). (2544). ตำนานผีไทย. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.
ส. วัฒนเศรษฐ (นามแฝง). (2510). ปทานุกรมการตั้งชื่อและนามสกุล. กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ.
สิริวัฒน์ คำวันสา. (2539). มรดกไทย : ยุคสร้างสรรค์และสิบสานวัฒนธรรม. ในเอกสารการสัมมนา
ทางวิชาการ สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับ
วิทยาลัยทองสุข 2 กรกฎาคม 2539 (หน้า 294). กรุงเทพฯ: สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเทพ สุนทรเภสัช. (2525). ความเชื่อในเรื่องผีปู่ตา หมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ:
สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2529). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 3. สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
เสฐียรโกเศศ (นามแฝง). (2515). เมืองสวรรค์และผีสางเทวดา. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.
อภินันท์ สงเคราะห์. (2556). เรื่องผีในอีสาน : ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีของกลุ่มชาติพันธุ์
ลาว เขมร ส่วย และเวียดนาม ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอีสานใต้ของประเทศไทย. อุบลราชธานี:
งานส่งเสริมการวิจัยและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เอ๋ (นามแฝง). (2555). ตายเพราะผีปิดตา. เรื่องผีและวิญญาณ, 25(597), 49.
Jiang zi hua, Fan mao zhen & Yang de ling (蒋梓骅,范茂震 与 杨德玲). (1992).
《鬼神学词典》. 西安:陕西人民出版社.
Pu song ling (蒲松龄). (1990).《白话聊斋志异》. 长沙: 岳麓书社.
Xu hua long (徐华龙). (1994).《中华鬼文化大辞典》. 南宁:广西民族出版社.
Zhang jin song(张劲松). (1991). 《中国鬼信仰》. 北京:北京中国华侨出版公司.