ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสังเกต และทักษะจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลท่าตะโก ตำบลท่าตะโก อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งผ่านการตรวจคุณภาพแล้วว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.72, S.D. = 0.26) 2) แบบวัดภาคปฏิบัติทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย มีจำนวน 5 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง .62 – .75 และอำนาจจำแนกระหว่าง .26 – .55 โดยใช้เทคนิคของ C. A. Drake และหาความเชื่อมั่นด้วยวิธีค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมินได้เท่ากับ .80 3) แบบวัดภาคปฏิบัติทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย มีจำนวน 9 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง .75 – .79 และอำนาจจำแนกระหว่าง .29 – .47 โดยใช้เทคนิคของ C. A. Drake และหาความเชื่อมั่นด้วยวิธีค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมินมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะการสังเกตคิดเป็นร้อยละ 91.81 ของคะแนนเต็ม และคะแนนทักษะการจำแนกประเภทคิดเป็นร้อยละ 88.57 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม หลังได้รับผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภทคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2(4), 1-9.
พนิตสุภา โกศิลา. (2553). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และคุณลักษณะด้านพิสัยสำหรับเด็ก
ปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ:
สถาบันฯ.
_______. (2553). คู่มือการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนศักยภาพศึกษานิเทศก์และครูปฐมวัย.
กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.
_______. (2554). กรอบมาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษา
ปฐมวัย 2546. กรุงเทพฯ: สถาบันฯ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). การศึกษาองค์การมหาชน รายงาน
การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบ 2. กรุงเทพฯ:
สำนักงานฯ.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2551). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 7).
กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
โสภิดา โครตโนนกอก. (2554). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อ
ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
เสาวภาคย์ สว่างจันทร์. (2554). ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนา
ทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Anderson, E. (1998). Motivational and cognitive influences on conceptual knowledge : The
combination of science observation and interesting text. (Dissertation Abstract).
University of Maryland. College Park.