การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียน ในจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

พรชัย หนูแก้ว
ศุภลักษณ์ สัตย์เพริศพราย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูในการออกแบบแผนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้บูรณา
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางสะเต็มศึกษา และศึกษาการคิดตามแนวสะเต็ม
การคิดสร้างสรรค์และคิดวิเคราะห์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยเสือและ
โรงเรียนบ้านวังผาตาด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความรู้ในการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษา
แบบประเมินความสามารถจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษา แบบประเมินการคิดตามแนวสะเต็ม
แบบประเมินการคิดสร้างสรรค์และคิดวิเคราะห์ หาคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความยากง่าย
อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่นและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที
และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า
1. ความรู้ต่อบูรณาการสะเต็มศึกษาก่อนทดลองและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ
2. ความสามารถในการออกแบบแผนการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครูมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ใน
ระดับดีมากทุกองค์ประกอบและความสามารถในการบูรณาการแผนการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดี
มากและดี
3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดตามแนวสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ดีและดีมาก และ
หลังทดลองนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4. ครูพบว่าบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางสะเต็มศึกษา ทำให้นักเรียนอธิบาย
ปัญหาและแก้ไขปัญหาหรือนำมาพัฒนาได้ โดยทำเป็นขั้นตอน มีการทดสอบด้วยวิธีการที่หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำรัส อินทลาภาพร และคนอื่นๆ. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับ
ผู้เรียนระดับประถมศึกษา. Veridian E–Journal, 8(1), 62 – 74.
เฉลิมลักษณ์ เหลาแตว. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนที่ความคิดและเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สกลนคร. สกลนคร.
นริศรา ปิตะระโค. (2558). การพัฒนาคู่มือการจัดประสบการณ์ฝึกกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิตปัญญา
ร่วมกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดของวิลเลียมส์ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์
ความรับผิดชอบ และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร.
รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). เรียนรู้สภาวะโลกร้อนด้วย STEM Education แบบบูรณาการ.สสวท.,41(182),
15 - 20.
รุ่งทิวา พลชำนิ. (2551).การศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 1 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ
โครงงาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา.
วราณี สัมฤทธิ์. (2557). การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงเพื่อพัฒนาความสามารถในการผลิตงานวิจัยในชั้นเรียน
ของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม
(STEM Education Thailand and STEM Ambassadors).นิตยสารสสวท.,42(185), 14 - 18.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและ
การจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สุกัญญา บัวสวัสดิ์. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสร้างความรู้ที่มีต่อความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. จันทบุรี.