การประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติในการพัฒนาคลังข้อสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พัชราภรณ์ ไวกุณฐ์วิวรรธน์
ไพรัตน์ วงษ์นาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา
ไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติและพัฒนาคลังข้อสอบ
Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ
ผลการตอบข้อสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ที่เข้าสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2554 - 2558 จำนวน 500 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random
Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบทดสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้จากการรวบรวมข้อสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2558 ที่มีลักษณะเป็นแบบทดสอบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 188 ข้อ ประกอบ
ด้วยข้อสอบ 5 มิติ คือ มิติด้านการอ่าน มิติด้านการเขียน มิติด้านการดู มิติด้านหลักการใช้ภาษาไทย และมิติ
ด้านวรรณคดีและวรรณกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โมเดลปกติ
สะสมแบบพหุมิติกับโอกาสการเดา ด้วยโปรแกรม NOHARM ผลการวิจัย พบว่า มีข้อสอบ Pre O-NET กลุ่ม
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อนำเข้าสู่คลังข้อสอบ จำนวน
163 ข้อ จากข้อสอบทั้งหมด 188 ข้อ ข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกมีค่าอำนาจจำแนกแบบพหุมิติ (MDISC)
อยู่ระหว่าง 0.024 ถึง 0.435 และมีค่าความยากแบบพหุมิติ (MDIFF) อยู่ระหว่าง -3.489 ถึง 2.294

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรัชญา รติศานต์พงศ์. (2557). การศึกษาความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานจากการใช้ชุดการสอนด้วย
เพลงของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้โรงเรียนประเสริฐอิสลาม. วารสารมหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา, 9(2), 47-59.
สมประสงค์ เสนารัตน์. (2555). การพัฒนาการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อวินิจฉัย
กระบวนการพุทธิปัญญาในการเรียนพีชคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยประยุกต์
ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
นเรศวร. พิษณุโลก.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.). (2558). คะแนนสอบ O-NET ของนักเรียนระดับชั้น ป.6,
ม.3, ม.6 ปีการศึกษา 2558. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2560, จาก http://www.niets.or.th/
Embretson, S. E. and Reise, S. P. (2000). Item response theory for psychologists.
New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Frey, A., and Seitz, N. N. (2009). Multidimensional adaptive testing in educational and
psychological measurement : Current state and future challenges. Studies in
Educational Evaluation, 35, 89-94.
Hirsch, T. M. (1989). Multidimensional equating. Journal of Educational Measurement,
26, 337-349.
Reckase, M. D., and McKinley, R. L. (1991). The discriminating power of items that
measure more than one dimension. Applied Psychological Measurement,
15, 361-373.
Wang, C., and Chang, H. (2011). Item selection in multidimensional computerized
adaptive testing-gaining information from different angles. Psychometrika,
76(3), 363-384.
Yao, L., and Boughton, K. A. (2009). A multidimensional item response modeling
approach for improving subscale profciency estimation and classifcation.
Applied Psychological Measurement, 31(2), 83-105.