การส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์กับปัญหาความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ประสงค์ โตนด
พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ
พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ 2) เพื่อศึกษา
ศาสนกิจทางพุทธศาสนาที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง 3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมบทบาทของพระ
สงฆ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร
ซึ่งเป็นการศึกษาจากงานวิจัยของนักวิชาการ เอกสารทางราชการ ข้อมูลบันทึกของหน่วยงาน และจารึกทาง
ประวัติศาสตร์ การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการสัมภาษณ์พระสงฆ์ คนไทยพุทธ และผู้นำศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นการ
สัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง เป็นคำถามปลายเปิดมีการจัดเตรียมชุดคำถาม และวิธีการสัมภาษณ์แบบ
ยืดหยุ่นบรรยากาศเป็นกันเองเหมือนการใช้ชีวิตประจำวัน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 63 คน และการสำรวจทัศนะ
ของประชาชนโดยกระจายไปตามระดับพื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากประชาชนในพื้นที่ ข้าราชการ
พ่อค้า แม่ค้า และเจ้าของธุรกิจภาคเอกชนที่เป็นคนไทยพุทธ โดยการออกแบบสอบถามปลายปิดแบบมาตร
วัด 5 ระดับ และวิเคราะห์ โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 90 คน
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) สาเหตุความขัดแย้งที่กระทบกับพระสงฆ์ ประชากรส่วนใหญ่มีความคิด
เห็นว่า เกิดจากขบวนการแบ่งแยกดินแดน ต้องการทำร้าย และฆ่าพระสงฆ์เมื่อพระสงฆ์ออกไปบิณฑบาต
และเดินทางไปทำศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ศาสนาพุทธหมดไปจากพื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาค
ใต้ และหลังจากนั้นจะสถาปนาเป็นรัฐอิสลามขึ้นมาในพื้นที่แห่งนี้ 2) ศาสนกิจทางพุทธศาสนาที่ได้รับผล
กระทบจากความขัดแย้ง ประชากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า เกิดผลกระทบทางศาสนพิธีมากที่สุด เพราะ
การประกอบศาสนพิธีทางศาสนาพุทธต้องเปลี่ยนเวลาไปหมดทุกด้าน อาทิ การเวียนเทียนต้องเปลี่ยนเวลา
กลางคืนเป็นเวลากลางวัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงาน 3) แนวทางส่ง
เสริมบทบาทของพระสงฆ์ ประชากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ควรส่งเสริมพระสงฆ์ในด้านการเผยแผ่
พระพุทธศาสนา โดยให้พระสงฆ์ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามโรงเรียน และแหล่งชุมชนชาวพุทธ ทั้งนี้
เพื่อสร้างความศรัทธาให้กับประชาชน และให้พระสงฆ์เชิญชวนครู นักเรียน นักศึกษา และคนไทยชาวพุทธ
เข้ามารับฟังธรรมในวัดทุกวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
องค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบ กลุ่มผู้นำศาสนาอิสลามมีความคิดเห็นว่า สาเหตุที่พระสงฆ์ถูกฆ่าตายมา
จากคนมุสลิมบางคนที่สูญเสียญาติพี่น้อง เนื่องจากการกระทำของเจ้าหน้าของรัฐโดยพวกเขาไม่ได้รับ
ความเป็นธรรมในทางคดีความ จึงหาโอกาสทำร้าย และฆ่าพระสงฆ์ที่เป็นรูปอ่อนแอกว่า และไม่มีอาวุธ เพื่อ
สร้างสถานการณ์ให้ภาครัฐมีความสนใจในเรื่องความยุติธรรม สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาอิสลาม
กับศาสนาพุทธนั้นยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และแนวทางส่งเสริมพระพุทธศาสนานั้นควรให้พระสงฆ์ร่วม
มือกับภาครัฐเปิดหลักสูตรอบรมการศึกษาทางพระพุทธศาสนาให้กับเด็กและเยาวชนตามโรงเรียนต่างๆ และ
ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมาเข้าค่ายอาสาพระพุทธศาสนาในวัดของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่าง
สม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โคจิ โนสุ. (2541). บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีในจังหวัดสงขลา.
(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา. สงขลา.
จรัญ มะลูลีน. (2550). ไทยกับโลกมุสลิม ศึกษาเฉพาะกรณีชาวไทยมุสลิม. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเซียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจียมพงษ์ วงษ์ธรรม. (2541). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (ปรับปรุงพิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งการพิมพ์.
บัณฑิต สะมะอุน. (2547). พหุวัฒนธรรมกับการพัฒนาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษา
ปอเนาะ. กรุงเทพฯ: ส�านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระทรงเกียรติ ศรีจันทร์. (2551). การศึกษาวิถีชีวิตชาวไทยพุทธในสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษาชาวไทยพุทธอ�าเภอโคกโพธิ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มติชน.
พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2552). การส�ารวจโดยการสุ่มตัวอย่าง : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:
เสมาธรรม.
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี และ คนอื่น ๆ. (2550). ยุทธศาสตร์สันติวิธีภาคประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้
จะต้องสร้างรัฐแห่งความยุติธรรมและสันติให้ได้. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
วิมลพรรรณ ปีตธวัชชัย. (2550). เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ (1984).