ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์การที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการบริหารจัดการ สโมสรโรตารีในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จในการบริหารจัดการสโมสรโรตารีในประเทศไทย
และเพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์การที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการบริหารจัดการสโมสร
โรตารีในประเทศไทยจากผู้บริหารสมาชิกสโมสรโรตารีในประเทศไทย ทั้ง 4 ภาค จำนวน 257 สโมสร จาก
334 สโมสร คิดเป็นร้อยละ 76.90 ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และนำมาวิเคราะห์ ด้วยวิธีการ
ทางสถิติ ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า
ผู้บริหารสมาชิกสโมสรโรตารีในประเทศไทยที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัย
สภาพแวดล้อมภายในองค์การที่นำมาบริหารจัดการสโมสรโรตารีในประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
โดยมีค่าเฉลี่ย 3.39 เมื่อพิจารณาพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงตามลำดับได้ดังนี้ ด้านค่านิยม
หรือวัฒนธรรมองค์กร รองลงมาด้านรูปแบบการบริหารจัดการ ด้านกลยุทธ์ขององค์กร ด้านทักษะ ความรู้
ความสามารถ ด้านบุคลากร ด้านโครงสร้างองค์กร และด้านระบบการปฏิบัติงาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความ
สำเร็จในการบริหารจัดการสโมสรโรตารีในประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.71
เมื่อพิจารณาพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงตามลำดับได้ดังนี้ ด้านการเงิน ด้านกระบวนการ
ภายใน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา และด้านสมาชิก
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์การ ได้แก่ กลยุทธ์ขององค์กร
โครงสร้างองค์กร ระบบการปฏิบัติงาน บุคลากร ทักษะ ความรู้ ความสามารถ รูปแบบการบริหารจัดการ และ
ค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กรที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสโมสรโรตารี
ในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2560, จาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.):
http://www.ecberkku.com/news2/978-sme-aec.html
ณรงค์ ฉิมวิเศษ. (2554). “จากมือบนสู่มือล่าง” การดำเนินงานขององค์การสาขาสาธารณประโยชน์อิสลาม :
กรณีศึกษามูลนิธิศรัทธาชนเพื่อการศึกษาและเด็กกำพร้า. วารสารเกษมบัณฑิต, 13(1), 109-127.
ทัศนา รัตยา. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
นครศรีธรรมราช.
ทิพยรัตน์ คชพงษ์. (2551). ศึกษากรณีความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงตามการรับรู้ของผู้ตาม
การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงจิตวิทยา และความผูกพันในงาน : กรณีศึกษาองค์การที่ไม่
มุ่งหวังผลกำไรด้านมูลนิธิด้านสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในจังหวัด
กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ไพจิตร รัตนานนท์. (2550). บทบาทองค์กรการกุศลฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มูลนิธิพลตรี จำลอง
ศรีเมือง เวชกรรมเฉพาะทางไตเทียม. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
พุฒิพงศ์ เอี่ยมสินธร. (2559). เอกสารประกอบการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ:
สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.
มงคลรัตน์ ปิยะนันท์. (2551). สถานภาพและบทบาทองค์การสาธารณประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างยั่งยืน.
(วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณทิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ศูนย์โรตารีในประเทศไทย. (2559). การดำเนินงานของสโมสรโรตารีในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ
27 พฤศจิกายน 2559, จาก ศูนย์โรตารีในประเทศไทย: http://www.rotarythailand.org/
download/Others.html