การพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้สำหรับการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรปลอดภัย (กระท้อน) แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดลพบุรี

Main Article Content

จิราวรรณ สมหวัง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรปลอดภัย
(กระท้อน) จังหวัดลพบุรี 2) พัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรปลอดภัย (กระท้อน)
แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดลพบุรี และ 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการโซ่อุปทานของสินค้าเกษตร
ปลอดภัย (กระท้อน) ผ่านแหล่งการเรียนรู้ในจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกร
ผู้ปลูกกระท้อนในจังหวัดลพบุรี ผู้นำชุมชน ผู้นำเกษตรกร บุคลากรภาครัฐ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้
บริการแหล่งการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics) และ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมสำคัญตลอดห่วงโซ่อุปทานกระท้อน ได้แก่ 1) กิจกรรมต้นน้ำ คือ การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ
สำหรับการปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งมีวัตถุดิบที่สำคัญได้แก่ ต้นกระท้อน ถุงห่อ ปุ๋ย สารเคมีป้องกัน
กำจัดแมลง และน้ำ 2) กิจกรรมกลางน้ำ ได้แก่ การปลูก การดูแลบำรุงรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิต และ
กิจกรรมปลายน้ำ ได้แก่ การจำหน่ายผลกระท้อนสดและผลิตภัณฑ์กระท้อนแปรรูป
2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรปลอดภัย (กระท้อน) แบบมี
ส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดลพบุรี มี 4 กระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้
การจัดเก็บความรู้ และการถ่ายทอดความรู้
3. การถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรปลอดภัย (กระท้อน) ผ่านแหล่ง
การเรียนรู้ในจังหวัดลพบุรี ทำโดยจัดทำระบบฐานข้อมูลออนไลน์และการจัดโครงการอบรมเพื่อการถ่ายทอด
องค์ความรู้การจัดการโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรปลอดภัย (กระท้อน) ซึ่งพบว่า ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจ
ต่อการเข้าร่วมอบรมภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2552). ที่ปรึกษา รมว.กษ. เปิด “มหกรรมอาหารปลอดภัย กินไก่ ดื่มนม
ชมเขื่อน จังหวัดลพบุรี”กระตุ้นเกษตรกรให้เห็นความสำคัญในกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย
ตามมาตรฐานสากล เพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตร. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2557,
จาก http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=1498&flename=NFC
_______. (2557). โครงการพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2557,
จาก http://www.zone6.oae.go.th/data_center6/assets/smart3.pdf
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2560). เปิดร่างแผนแม่บทโลจิสติกส์-โซ่อุปทานเกษตร ปี 60-64 เพิ่มมูลค่า
พัฒนาตลอดห่วงโซ่. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2560, จาก https://www. prachachat.net/
economy/news-14029
ยุพิน เถื่อนศรี. (2557). การพัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายหน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชน
ระดับตำบล เพื่อส่งเสริมเกษตรกรข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนา
เชิงพื้นที่, 6(5), 38-53.
สถานีข่าวเที่ยวภาคกลาง. (2560). งานเทศกาลกระท้อนหวานและของดีเมืองลพบุรี ครั้งที่ 26 ประจำปี
2560. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2560, จาก http://www.tiewpakklang.com/
uncategorized/22426/
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง). (2557).
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis). สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2557,
จาก http://www.osm-lopburi.moi.go.th/swot.htm
สิทิไวกูล ทิราวงศ์ และ นพพร บุญปลอด. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดการความรู้ของกลุ่ม
เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เพื่อพัฒนา
การปลูกข้าวโพดอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. แพร่: สำนักวิจัย
และส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อุทัย อันพิมพ์, นรินทร บุญพราหมณ์ และ สุขวิทย์ โสภาพล. (2554). การสร้างความรู้จากรูปแบบเกษตร
ประณีตเพื่อพัฒนาอาชีพสู่ความยั่งยืน: กรณีศึกษาสมาชิกเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน
จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 16(3), 15-25.