การพัฒนาชุดการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของชุดการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านไวยากรณ์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนที่ใช้ชุดการสอนวิชา
ภาษาอังกฤษ เรื่อง ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 2 โรงเรียนบ้านสระบัว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จังหวัดนครสวรรค์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธี
การจับฉลาก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดการสอนภาษาอังกฤษ เรื่อง ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
พื้นฐาน ที่มีประสิทธิภาพ 84.90/85.21 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน เป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีความยากง่ายระหว่าง
0.32-0.70 และค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.28-0.56 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.95
3) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงทั้ง
ฉบับเท่ากับ 0.98
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการสอนวิชาภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมที่สุด โดยมีประสิทธิภาพ
84.90/85.21
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอน
วิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
การสนทนาในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน
กับการเรียนรู้แบบปกติ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
กรมวิชาการ. (2542). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา.
กรุงเทพฯ: กรมฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
จเร ราโชกาญจน์. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนและความคงทนของความรู้
ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียกับการเรียนแบบปกติ
เรื่องเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์
อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปราจีนบุรี.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร
ศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-19.
นเรศ สุรสิทธิ์. (2547). English Grammar ไวยากรณ์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ สิงห์เจริญ. (2543). ความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวังไกลกังวล
และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ต่อวิธีการเรียนการสอนทางไกล
ผ่านดาวเทียม. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.
ประภาพร นุชอำพันธ์. (2554). การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษ เรื่อง อาหารและสุขภาพสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
มยุรี ศรีคะเณย์. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคงทนในการเรียนและ
ความพึงพอใจ ในการเรียนแบบร่วมมือด้วยโปรแกรมบทเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง รามเกียรติ
และคำราชาศัพท์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน.
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
วาสนา มณีนาค. (2549). การพัฒนาชุดการสอนทักษะการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
ศศิธร พรหมประเสริฐ. (2552). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์, 23(2), 125-131.
เศรษฐวิทย์. (2548). จับเอาไวยากรณ์มาเขียนมาพูด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เม็ดทราย.
สุพัตรา กองทรัพย์. (2548). การพัฒนาชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมแบบเน้น
งานปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์.
เอียน สมิธ และ อนงค์ วิเศษสุวรรณ. (2550). การจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(2), 2-10.
Bloom, Benjamin S. (1976). Human characteristics and school learning. New York:
McGraw-Hill.