รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาจังหวัดลำปาง

Main Article Content

สมชาย ใจไหว
ปรมินทร์ อริเดช
กิตติศักดิ์ นิวรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดลำปาง เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และ
อิทธิพลรวมต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดลำปาง การวิเคราะห์วิจัยครั้งนี้
ใช้การศึกษารูปแบบของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล
ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์และวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดลำปางโดยใช้โมเดลลิสเรล ประชากรที่ใช้ในการ
วิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2557 จำนวน 13 โรงเรียน โดย
ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratifed Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 369 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัด
ลำปาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการของโมเดลลิสเรล สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาจังหวัดลำปาง พบว่า ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงทฤษฎีกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ในการวิเคราะห์ครั้งแรกนั้นโมเดลไม่มีความสอดคล้องกัน แต่เมื่อพิจารณาค่าไค-สแควร์ (x2 =
292.37/296 = 0.98) ค่าไค-สแควร์แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง
(Goodness-of-Fit Index : GFI = 0.95) ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted
Goodness-of-Fit Index : AGFI = 0.92) รวมทั้งดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (Root Mean Squared
Residual : RMR = 0.042) เข้าใกล้ศูนย์ (RMSEA = 0.00) มีค่าไม่เกิน 0.05 ค่าส่วนเหลือในรูปคะแนน
มาตรฐาน (Standardized Residual : SR = 3.09) มีค่าเกิน 2.00 ซึ่งคะแนนมาตรฐานจะต้องมีค่าเข้าใกล้ 0
รวมทั้งกราฟ Q-Plot มีความชันน้อยกว่าเส้นทแยงมุม แต่ในกรณีนี้สามารถอนุโลมให้สอดคล้องได้
เมื่อทำการปรับโมเดลถึงที่สุดแล้วได้กราฟมีความชันใกล้เคียงเส้นทะแยงมุมมากที่สุด ค่าสัมประสิทธิ์การ
พยากรณ์ หรือ R-Square ตัวแปรในโมเดลอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการสร้างองค์ความรู้
ด้วยตนเองของนักเรียนได้ร้อยละ 88.00 


2. อิทธิพลรวมสูงสุดในโมเดล คือ อิทธิพลรวมอันเนื่องมาจากตัวแปรสังคมเป็นปริมาณ 0.92 
รองลงมา คือ ตัวแปรคุณลักษณะส่วนบุคคล เท่ากับ 0.66 และตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยสุดต่อตัวแปรพฤติกรรม
เบี่ยงเบนนักเรียน คือ ตัวแปรการศึกษา มีค่าเท่ากับ -0.33
3. อิทธิพลทางตรงสูงสุดในโมเดล คือ อิทธิพลรวมทางตรงอันเนื่องมาจากตัวแปรสังคม มีค่าเท่ากับ
0.92 รองลงมา คือ ตัวแปรสื่อและเทคโนโลยี มีค่าเท่ากับ 1.60 และตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยสุดต่อตัวแปร
พฤติกรรมเบี่ยงเบนนักเรียน คือ ตัวแปรเพื่อน มีค่าเท่ากับ -1.60
4. อิทธิพลทางอ้อมสูงสุดในโมเดล คือ อิทธิพลรวมอันเนื่องมาจากตัวแปรการศึกษา โดยส่งผ่าน
ตัวแปรคุณลักษณะของบุคคล มีค่าเท่ากับ 0.68 รองลงมา คือ ตัวแปรเพื่อน โดยส่งผ่านตัวแปรคุณลักษณะ
ของผู้เรียน มีค่าเท่ากับ 1.66 และตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยสุดต่อตัวแปรพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียน คือ
ตัวแปรสื่อและเทคโนโลยี โดยส่งผ่านตัวแปรคุณลักษณะของผู้เรียน มีค่าเท่ากับ -1.65

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำลอง คำบุญชู. (2550). โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child watch)
ปี 2550 : ภาคเหนือตอนบน (เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง และ
ลำพูน). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตยา กัทลีรดะพันธุ์. (2541). วิเคราะห์การใช้สารเสพติดในระบบข้อมูลเยาวชน สถานพินิจและ
คุ้มครองเด็ก และเยาวชน กรุงเทพมหานคร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. (2553). คู่มือเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ:
ศูนย์ฯ.
Sutherland. (1947). Crimnology. Philadelphia: J.B. Lippincott.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก. (2554). การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของวัยรุ่น จังหวัดนครนายก
ประจำปี 2554. นครนายก. สำนักวัฒนธรรมฯ.