พัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานชาดกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดท่าตอน

Main Article Content

พระมหาวรัฏฐนน แสงศรี
ยุพิน จันทร์เรือง
อัญชลี เท็งตระกูล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง
การอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานชาดกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดท่าตอน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนการอ่านจับใจความสำคัญ
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการอ่านจับใจความ และ 4) เพื่อหาประสิทธิภาพนิทานชาดก
ด้วยวิธีการของ Fry กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพระปริยัติ
ธรรมวัดท่าตอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ประกอบ
ไปด้วยนิทานชาดกเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ
แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการอ่านจับใจความสำคัญ นำไปวิเคราะห์หาค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
จากการศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การอ่านจับใจความ
สำคัญ โดยใช้นิทานชาดก มีประสิทธิภาพร้อยละ 86.01/86.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80/80
ส่วนคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.20 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
24.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.24 เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบ พบว่า 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
3) ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย (X= 4.09, S.D. = 0.72) ข้อที่นักเรียน
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ กิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น มีคะแนน
เฉลี่ย (X= 4.59, S.D. = 0.49) และสื่อนวัตกรรมส่งเสริมการประเมินผลการเรียนของตนเองได้ มีคะแนน
เฉลี่ย (X= 4.59, S.D. = 0.49) และกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับเวลาจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ย
(X= 4.56, S.D. = 0.56) และ 4) ประสิทธิภาพของนิทานชาดกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะใช้
ระดับภาษาที่จำนวนประโยค 5.1 - 12.5 ประโยค จำนวนพยางค์ 129 – 156 พยางค์ ซึ่งนิทานชาดกทั้ง 9
เรื่องอยู่ในเกณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกานต์ อรรถวรวุฒิ. (2548). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่าน
เพื่อจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). การวัดผลประเมินผลการอ่านจับใจความภาษาไทยระดับชาติ.
กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2547). วิธีสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์.
ธีรญา เหงี่ยมจุล. (2547). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2551). สถิติเพื่อการวิจัย. เชียงราย: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงราย.
บุญช่วย สังข์ศิริ. (2549). การพัฒนาความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน โดยใช้นิทาน
ธรรมะเป็นสื่อการสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
พเยาว์ โพธิ์อ่อน. (2548). หลักและวิธีการสอนอ่าน. มปท.: มปพ.
พัชรา พราหมณี. (2549). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ลพบุรี.
พัชรี ครุฑเมือง. (2550). การพัฒนาความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย โดยใช้
หนังสือนิทานร้อยกรองสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านท่าแหน
จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นนทบุรี.
ภคิน โชติธนเลิศ. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานชาดก
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุทรพิชิตาราม อำเภอองครักษ์ จังหวัด
นครนายก. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ศรีวรรณ ศรีสวัสดิ์. (2549). การสร้างแบบฝึกอ่านจับใจความสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหอวัง.
(สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
สิทธิพงศ์ สิริวราพงศ์. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไผ่โทน (นวลราษฎร์วิทยา) อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์: อุตรดิตถ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
อาคม ทองเกษม. (2547). การพัฒนาชุดทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาสารคาม.