การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย เทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค CIRC รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย เพื่อเปรียบ เทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ที่เรียนวิชา ภาษาอังกฤษ 4 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวนห้องเรียน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 46 คน เครื่อง มือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC รายวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในด้านทักษะการอ่านจับใจความ ภาษาอังกฤษ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC จำนวน 20 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรวมของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC รายวิชาภาษาอังกฤษ มีค่าประสิทธิภาพรวมเท่ากับ 85.59/87.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545).เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
ธิดา ทิพย์สุข. (2552). การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
นพพร สโรบล. (2557). ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2558, จาก http://www.polsci.tu.ac.th/fleupload/39/56.pdf
ผาสุข เดชะบุญ. (2553). การใช้เทคนิค SQ3R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิชาเอกภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.
มณีรัตน์ สุกโชติรันต์. (2549). อ่านเป็น เรียนก่อน สอนเก่ง. กรุงเทพฯ: นานมี บุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
รัติยากร บุญช่วย. (2554).ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับเทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.
โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. (2555). รายงานผลประจำปี 2555. เชียงราย: โรงเรียนฯ.
ศรัณย์ จันทร์ทะเล. (2548). การส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ความสามารถในการเขียนสรุปความ และความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยการเรียนแบบซี ไอ อาร์ ซี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ศิริวรรณ ฉายะเกษตริน และ คนอื่น ๆ. (2535). หนังสือชุดฝึกทักษะกระบวนการ ท 101 ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อุษา บำรุงแคว้น. (2553). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือในรูปแบบผสมผสาน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.