การพัฒนาทักษะการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตราโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับวิธีการสอน แบบซิปปาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่สะกด ไม่ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการ เขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตราก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับวิธีการสอนแบบซิปปาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการ ศึกษา 2559 โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จำนวน 18 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเกาะกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตรา สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ตามวิธีการสอนแบบซิปปาประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่สะกด ไม่ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และแบบวัดเจตคติต่อวิชา ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ของแบบฝึก ทักษะการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนด้านทักษะการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตราก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับวิธีการสอน แบบซิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ t-test และศึกษาเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยหาค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพรวมเท่ากับ 85.30/84.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตราจากการใช้แบบฝึกทักษะ ร่วมกับวิธีการสอนแบบซิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. เจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมมีเจตคติอยู่ในระดับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง ( = 4.81, S.D. = 0.40)
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว