ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

พงค์วุฒิ อุปละ
ทับทิม สุขพิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 8 แห่ง จำนวน 202 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe ’s Method) นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบการบรรยายผลการศึกษาพบว่า


1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 31 - 40 ปี และสมรสแล้ว มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.มากที่สุด และมีรายได้/เดือน 5,001 – 10,000 บาท


2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ในภาพรวม 4 ด้าน พบว่า ส่งผลในระดับมาก และเมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ


3. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณารายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการบริหารจัดการ พบว่า อาสาสมัครป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือนที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แตกต่างกัน ก็จะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. สำนักส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน2558, จาก http://122.155.1.145/in.civil-10.186/,2558

กระทรวงมหาดไทย. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. สำนักมาตรการป้องกันสาธารณภัย. (2550). พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และอนุบัญญัติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2548). มาตรฐานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

ผุสดี เสาโสภณ. (2551). การบริหารธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซนเตอร์การพิมพ์.

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2553. (2553, กันยายน 14). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนพิเศษ 109 .ง หน้า 1-14.

วิไลวรรณ ธีรชุติมานันท์. (2553). การบริหารจัดการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2553 จาก http://dcms.thailid.or.th

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. (2552). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

อดิศร บำรุงญาติ. (2550). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยศึกษาอำเภอเขาสมิงจังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.