การพัฒนาสื่อเรื่องคำลักษณนามภาษาไทย สำหรับนักศึกษาจีนที่ศึกษา ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

Yang Xinghua
ยุพิน จันทร์เรือง
อัญชลี เท็งตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมและจำแนกคำลักษณนามภาษาไทยที่นักศึกษาจีนศึกษา ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายใช้ไม่ถูกต้อง และเพื่อพัฒนาสื่อเรื่อง คำลักษณนามภาษาไทยที่มีความเหมาะสม สอดคล้องด้านเนื้อหาและภาษาสำหรับนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยนักศึกษาที่ตอบแบบสำรวจ ได้แก่ นักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัยฉู่ฉงนอร์มอล ชั้นปีที่ 3 จำนวน 32 คน และนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัยยวี่ซีนอร์มอล ชั้นปีที่ 3 จำนวน 37 คน ที่ศึกษาในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีการศึกษา 2558 และผู้ประเมินแบบฝึกทักษะ ประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 10 คน และนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัยฉู่ฉงนอร์มอล ชั้นปีที่ 3 จำนวน 32 คน ที่ศึกษาในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ประกอบด้วยแบบสำรวจการใช้คำลักษณนามภาษาไทย สำหรับนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และแบบฝึกทักษะเรื่องคำลักษณนามภาษาไทย สำหรับนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน หาค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย


ผลการวิจัยพบว่า


1. ผลการศึกษารวบรวมและจำแนกคำลักษณนามภาษาไทยที่นักศึกษาจีนศึกษาในมหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงรายใช้ไม่ถูกต้อง พบว่า การใช้คำลักษณนามภาษาไทยที่มีความบกพร่องของนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อย คำนามที่ตอบผิดมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ คำว่า ที่นอน (คำลักษณนามที่ใช้ แผ่น) ตอบผิดจำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 92.75 คำลำดับที่ 108 คำว่า แม่น้ำ (คำลักษณนามที่ใช้สาย) ตอบผิดจำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 52.17 คำลำดับที่ 300 คำว่า สมุด (คำลักษณนามที่ใช้ เล่ม) ไม่มีผู้ตอบผิด คิดเป็นร้อยละ 0.00 เมื่อเรียงลำดับตามคำตอบผิดมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.17 ขึ้นไป โดยนำมาจัดหมวดหมู่ตามลักษณะรูปร่างและชนิดได้จำนวน 7 หมวดหมู่ คือ 1) คำลักษณนามที่ใช้กับสิ่งมีชีวิต จำนวน 17 คำ ได้แก่ ครู ผู้หญิง พระสงฆ์ เจ้าอาวาส แม่ชี สามเณร เจ้าหญิง เจ้าชาย ทหาร ตำรวจ วิศวกร เจ้าหนี้ นกยูง ลิง ปูทะเล ช้างป่า ช้างบ้าน 2) คำลักษณนามที่ใช้กับอมนุษย์และนามธรรม จำนวน 13 คำ เช่น ยักษ์ เปรต นางไม้ ฤๅษี ปีศาจ ศีล ผี รางวัล การบ้าน ความดี ความคิด กฎหมาย คะแนน 3) คำลักษณนามที่ใช้กับสิ่งที่มีลักษณะกลม จำนวน 15 คำ เช่น ยางรถยนต์ ถ้วยชาม ถัง หม้อ ถาด กระป๋อง จาน แก้วน้ำ กะละมัง ถ้วยกาแฟ แจกัน ถ้วยกระดาษ โคมไฟ กระทง กระเช้า 4) คำลักษณนามที่ใช้กับสิ่งที่มีลักษณะเล็กยาว จำนวน 19 คำ เช่น เส้นผม แม่น้ำ เชือก ริบบิ้น สายพาน ซิป โซ่ ถนน สายสร้อย เสาอากาศ เสาไฟฟ้า ตะปู ไมโครโฟน คัตเตอร์ กรรไกร แปรงสีฟัน ประทัด ธูป ร่ม 5) คำลักษณนามที่ใช้กับสิ่งที่มีลักษณะแบนเป็นแผ่น จำนวน 14 คำ เช่น ใบลา ตั๋วชมภาพยนตร์ ใบขับขี่ ผ้าอนามัย กระจกเงา ป้ายทะเบียน ขนมปัง บัตรประจำตัวประชาชน ที่นอน บัตรเครดิต แผ่นปลิว ถุงกระดาษ บัตรเชิญ แบบฝึกหัด 6) คำลักษณนามที่ใช้กับสิ่งที่เป็น ต้น ดอก หน่อ และกอ จำนวน 17 คำ จำนวน 13 คำ เช่น เห็ด หน่อไม้ กระบองเพชร ดอกมะลิ ดอกไม้ แครอท มะนาว ส้ม ส้มโอ มะม่วง สตรอว์เบอรี่ ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงกวา หัวไชเท้า และ 7) คำลักษณนามที่ใช้กับสิ่งที่มีลักษณะอื่นๆ จำนวน 14 คำ เช่น กุญแจ กีตาร์ ลิฟต์ ไม้แขวนเสื้อ แบตเตอรี่ กระดูก หน้ากาก กล้องถ่ายรูป เตียง แว่นตา ฟัน เครื่องบิน เตารีด กาต้มน้ำ


2. ผลการพัฒนาสื่อเรื่องคำลักษณนามภาษาไทย สำหรับนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้วิจัยได้พัฒนาสื่อเกี่ยวกับการใช้คำลักษณนามภาษาไทยขึ้นเพื่อแก้ไขการใช้คำลักษณนามที่ไม่ถูกต้องของนักศึกษาชาวจีน ได้แก่ แบบฝึกทักษะเรื่องคำลักษณนามภาษาไทยสำหรับนักศึกษาจีน ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 7 เล่ม จัดทำขึ้นจากคำลักษณนามที่นักศึกษาจีนตอบผิดร้อยละ 52.17 ขึ้นไป โดยผลการประเมินคุณภาพ ความสอดคล้อง เหมาะสม พบว่า อาจารย์ผู้สอนนักศึกษาจีนมีความเห็นว่า แบบฝึกทักษะเรื่องคำลักษณนามภาษาไทย สำหรับนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.48 และนักศึกษาจีนมีความเห็นว่า แบบฝึกทักษะเรื่องคำลักษณนามภาษาไทย สำหรับนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.50

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กรมฯ.

กรรณิการ์ ตรีวิเศษ. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ไตรยางศ์และการผันวรรณยุกต์ ระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับการสอนตามคู่มือครู. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา.

กันทิมา วัฒนะประเสริฐ. (2526). การศึกษาเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาเชียงใหม่กับภาษา. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
บรรจบ พันธุเมธา. (2523). ลักษณะภาษาไทย. พระนคร: ศรีเมืองการพิมพ์.

________. (2556). ลักษณะภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรรณี ช. เจนจิต. (2547). จิตวิทยาการเรียนการสอน : จิตวิทยาการศึกษาสำหรับครูในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.

ภิญญาดา ทวีสุข. (2555). การใช้คำลักษณนามและการแปรของการใช้คำลักษณนามตามถิ่นที่อยู่ของผู้พูด:กรณีศึกษาคำลักษณนามที่ใช้ในรัฐกลันตันประเทศมาเลเซีย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. กองวิเทศสัมพันธ์. (2556). บันทึกความร่วมมือสถานบันอุดมศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายกับต่างประเทศ (MOU) ปี 2556. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วิไลพร จีนเมือง. (2545). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องคำลักษณนาม สำหรับสอนภาษาไทยให้กับชาวต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

ศิวาพร ฉายชัยภูมิ. (2548). การพัฒนาชุดสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม.

Zhang Xiang Qun. (1995). Liang Ci Xiu Ci Shen Mei Lun. Shan Xi: Shan Xi Ren Min Chu Ban She.