การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนระดับปฏิบัติการชั้นต้น เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับบุคลากรในกลุ่มอาชีพขนส่งสินค้าทางถนน

Main Article Content

อัคครัตน์ พูลกระจ่าง
ศรัณย์ พินิจพะระ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนระดับปฏิบัติการชั้นต้นเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับบุคลากรในกลุ่มอาชีพขนส่งสินค้าทางถนน 2) ประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนระดับปฏิบัติการชั้นต้นเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับบุคลากรในกลุ่มอาชีพขนส่งสินค้าทางถนน 3) ติดตามและประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนระดับปฏิบัติการชั้นต้นเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับบุคลากรในกลุ่มอาชีพขนส่งสินค้าทางถนน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในกลุ่มอาชีพขนส่งสินค้าทางถนนที่เป็นสมาชิกของสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย ในปี พ.ศ. 2560 - 2561 จำนวนหลักสูตรละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม 3) การนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ฝึกอบรมจริง 4) การติดตามผลและประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์ผลข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพหลักสูตร และการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตร


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนระดับปฏิบัติการชั้นต้นได้หลักสูตรฝึกอบรมระดับปฏิบัติการชั้นต้น 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการรับและส่งมอบสินค้าจากการขนส่งสินค้าทางถนน และหลักสูตรพื้นฐานการจัดการขนส่งสินค้าทางถนน ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกรายการ และผลการตรวจสอบเหมาะสมของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการประเมินประสิทธิผลหลักสูตรฝึกอบรม ทั้ง 2 หลักสูตร พบว่า ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และค่าเฉลี่ยดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรมในภาพรวมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการติดตามและประเมินความคิดเห็นผู้บังคับบัญชาและผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ผู้รับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมหลักสูตรอยู่ในระดับมาก และผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจในระดับปานกลางทั้ง 2 หลักสูตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2559). รายงานการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลง FTA ในปี 2559. กรุงเทพฯ: กรมฯ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7 - 20.

ดวงกมล โพธิ์นาค, ศจีมาจ ณ วิเชียร, มนต์ชัย เทียนทอง. (2555). การศึกษาการใช้หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยบูรณาการกับระบบการจัดการความรู้สำหรับนักวิจัยมือใหม่ เรื่องการเขียนโครงร่างงานวิจัยวารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 3(2), 100-110.

ปิ่นอนงค์ พะนิจรัมย์, ประวิต เอราวรรณ์, มนูญ ศิวารมย์. (2555). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารการวัดผลการศึกษา 17(1), 219-230.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สุทธิพันธ์ พรมมา. (2556). ความร่วมมือในการขนส่งสินค้าระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้ให้บริการขนส่ง. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2561 จาก, https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49208

สุรเชษฐ์ สมไชย, ไพโรจน์ สถิรยากร, พิสิฐ เมธาภัทร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูล และสารสนเทศในสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 10(1), 98-105.

Goodman R.I, K. A. Flether, and Schneider, E. W. (1980). The Effectiveness Index as comparative measure in media product evaluation. Education Technology, 20(09), 30 - 34.