การศึกษากลไกและศักยภาพการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอย่างยั่งยืน ในจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลไกการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพในการจัดกิจกรรมด้านคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ด้านความปลอดภัย ด้านความนิยม ระหว่างอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย และวนอุทยานน้ำตกผาหลวง ผลการวิจัยพบว่า
1. จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ กลไกการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยงเชิงธรรมชาติอย่างยั่งยืนจะต้องมีความร่วมมือกันเพื่อให้งานในทุกส่วน สำเร็จโดยมีระเบียบแบบแผนการปฏิบัติที่ตรงกัน มีขั้นตอนประกอบด้วย ด้านกิจกรรม ด้านวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม ด้านการเงิน ด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว ด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาด ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านความปลอดภัยและความเสี่ยง ด้านลูกค้าสัมพันธ์
2. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดอุบลราชธานีมีศักยภาพในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่ได้จากกิจกรรมท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก ด้านความปลอดภัยจากการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวมีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง และด้านความนิยมของกิจกรรมการท่องเที่ยว มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก
3. อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีศักยภาพในการจัดกิจกรรมด้านคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ด้านความปลอดภัย ด้านความนิยมมากที่สุด (มีศักยภาพสูงสุด) และวนอุทยานน้ำตกผาหลวงมีศักยภาพในทุกด้านน้อยที่สุด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ชูศรี วงศ์รัตนะ (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ไทยเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์ และ เรณุมาศ มาอุ่น. (2553). การประเมินประสิทธิผลด้านการบริการนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 3(2), 1-18.
ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช, ธวมินทร์ เครือโสม, นิภา ชุณหภิญโญกุล และ คนอื่น. (2560). การพัฒนาช่องทางการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์หวดนึ่งข้าวอัจฉริยะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานเชิงนวัตกรรม. วารสาร มทร.อีสาน, 4(2), 1-15.
พงระภี ศรีสวัสดิ์ และ คนอื่น. (2550). การศึกษากลไกและศักยภาพการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนบนพื้นที่เกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศุภสร วงศ์ใหญ่ และ ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช. (2556). กลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกมาเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 3(6), 55-67.
สรายุทธ พรเจริญ และ อัยรดา พรเจริญ. (2561). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวตามต้นทุนของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเมืองปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 25-35.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). สถิติการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://webhost.nso.go.th/nso/project/table/file_form.jsp?province_id=ubon&pro_code=O-src-16&year=2559
อัยรดา พรเจริญ และ ฐิติพร อุ่นใจ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 12(2), 171-180.
Ardoin, M. N., et al. (2015). Nature-based tourism's impact on environmental knowledge, attitudes, and behavior : A review and analysis of the literature and potential future research. Journal of Sustainable Tourism, Retrieve from : http://dx.doi.org/10.1080/09669582.2015.1024258, 1-21.
Babu J. K. (2013). Sustainable tourism : Benefits and threats for MPA’S. Department of Management Studies, KMM Institute of Post Graduate Studies, Iupati, Retrieve from : http://ssrn.com/abstract=2184720, 2-11.
Matarrita, D. et al. (2010). Community agency and sustainable tourism development : the case of La Fortuna, Costa Rica. Journal of Sustainable Tourism, 18(6), 735-756.
Stange, J. and Brown, D. (2012). Tourism destination management achieving sustainable and competitive results. Washingtion: International Institute for Tourism Studies, George Washington University.
Prokosch, P. (2011). Tourism investing in energy and resource efficiency. New York: United Nations Environment Programmed.