การใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี จากความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ รักภักดี
วชิระ โมราชาติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการและพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของนักท่องเที่ยว 2) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวหรือชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 1,840 คน จากแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 23 แห่ง โดยแบ่งแหล่งท่องเที่ยวตามกิจกรรมการท่องเที่ยวออกเป็น 5 กิจกรรม การพัฒนาฐานข้อมูลแนะนำแหล่งท่องเที่ยวดำเนินการด้วยการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) ซึ่งเทคนิคที่นำมาใช้ คือ การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree Learning) และนำเสนอระบบฐานข้อมูลของงานวิจัยในรูปแบบเว็บไซต์ ผลการศึกษาความต้องการและพฤติกรรม พบว่า การได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของแหล่งท่องเที่ยวจากแอปพลิเคชันแนะนำแหล่งท่องเที่ยว มีความสำคัญต่อการตัดสินใจที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลแนะนำแหล่งท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์ทางสถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559, จาก http://tripderntang.com/การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

วนารัตน์ จุฬพันธ์ทอง และ ไกรศักดิ์ เกษร. (2558). ระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวโดยใช้ข้อมูลจากเครือข่ายสังคม. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 20(1), 209-226.

วีระชัย คำธร และ ฐัศแก้ว ศรีสด. (2558). การวิเคราะห์และพัฒนาการทำเหมืองข้อมูลพฤติกรรมการท่องเที่ยวเพื่อพยากรณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/ statseries/statseries23.html

สุกัญชลิกา ธรรมวินัยสถิต. (2548). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี. (วิทยาพิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.

โสภาวดี โชติกลาง และ คนอื่น ๆ. (2558). เว็บแมพเซอร์วิสสำหรับการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก : ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 54-64.

อภิวัฒน์ จันทร์หอม. (2554). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวในภาคกลางโดยใช้ฟัซซีลอจิก. (วิทยาพิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.