การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อยกระดับความสามารถ ในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สิงหา ประสิทธิ์พงศ์
ชาติชาย โคกเขา
สมภพ อินทสุวรรณ
วชิรพัฒน์ จิวานิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โครงการห้องเรียนพิเศษ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 158 คน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 33 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ การวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาจำนวน 4 แผน เนื้อหาตามหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) แบบสังเกต 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ใช้ Wilcoxon Matches Pair เปรียบเทียบความแตกต่างของความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังเรียน ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียน (ร้อยละ 77.36) สูงกว่าคะแนนค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียน (ร้อยละ 27.31) คะแนนค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 30.30) และดีมาก (ร้อยละ 69.70) ซึ่งพัฒนาขึ้นจากคะแนนเฉลี่ยที่ระดับ พอใช้ (ร้อยละ 63.64) และ ปรับปรุง (ร้อยละ 36.36)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม และ คนอื่น ๆ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ด้วยการช่วยเสริมศักยภาพเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย นเรศวร, 16(2), 129-139.

กมลวรรณ พฤฒินันทกุล. (2557). กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมนำมาใช้ห้องเรียนได้หรือไม่. นิตยสาร สสวท., 42(190), 9-12.

จิราณี เมืองจันทร์. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD แบบผสมผสาน เรื่อง คำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

ดวงพร สมจันทร์ตา. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการเรียนตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง กายวิภาคศาสตร์ของพืช. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ปัตตานี.

ปิยะชนก์ เถาสุวรรณ. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.

มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม. นิตยสาร สสวท., 42(185), 14-18.

ศิริลักษณ์ ชาวลุ่มบัว. (2558). การพัฒนาหลักสูตรตามแนวทางสะเต็มศึกษาเรื่อง อ้อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.

สุนีย์ คล้ายนิล, ปรีชาญ เดชศรี และ อัมพลิกา ประโมจนีย์. (2551). ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สำหรับโลกวันพรุ่งนี้. กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท., 42(186), 3-5.

อัจฉรีย์ สังขรักษ์ และ คนอื่น ๆ. (2560). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เพื่อพัฒนากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยเขตปัตตานี, 28(3), 59-71.

อาทิตย์ ฉิมกุล. (2559). ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

Bahar, M., Johnstone, A. H. and Hansell, M. H. (1999). Revisiting learning difficulties in biology. Journal of Biological Education, 33(2), 84-86.

Bellanca, J. and Brandt, R. (2010). 21st century skills rethinking how students learn. Bloomington: Solution Tree Press.

Dejarnette, N. K. (2012). America’s children: Providing early exposure to STEM (Science, Technology, Engineering and Math) initiatives. Education, 133(1), 77–84.

Hiong, L. C. and Osman, K. (2015). An interdisciplinary approach for Biology Technology Engineering and Mathematics (BTEM) to enhance 21st century skills in Malaysia. K-12 STEM Education, 1(3), 137-147.

Kemmis, S. and McTaggart, R. (1990). The action research reader. (3rd ed.). Geelong:Deakin University Press.

National Research Council. (2012). A framework for-12 science education : Practices, cross-cutting concepts, and core ideas. Retrieved December 15, 2018, from https://www.nap.edu/catalog/21740/identifying and supporting productive- stemprograms-in-out-of-school-settings

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society : The development of higher psychology process. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press.