ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการบูรณาการการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2

Main Article Content

พิชญ์นรี แสนขัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบูรณาการการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลรวม อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมต่อการตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบูรณาการการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มหลายขั้นตอน จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบูรณาการการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบ่งออกเป็นการรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความสะดวก ทัศนคติในการใช้งาน อิทธิพลทางสังคม และการตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบูรณาการการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า


1. ปัจจัยด้านทัศนคติในการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 4.18 รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย 4.13 และปัจจัยด้านการตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบูรณาการการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ย 3.06


2. โมเดลที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ พบว่า X2 = 5.54, df = 12, p = 0.97, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.01, RMSEA = 0.0, CFI = 1.00


3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุด คือ ปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคม ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด คือ ปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคม ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด คือ ปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคมผ่านตัวแปรการรับรู้ถึงความสะดวก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2554 - 2563. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560, จาก http://mict.go.th

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

ณัฐพร ทองศรี. (2555). ความตั้งใจใช้แท็บเล็ตของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานนครศรีธรรมราช เขต 3 การประยุกต์ใช้ตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลีสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพเดช อยู่พร้อม. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบ eDLTV ของบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. กรุงเทพฯ.

บังอรรัตน์ สำเนียงเพราะ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสำนักงานเสมียน : กรณีศึกษาหน่วยงานปฏิบัติการภาคสนามองค์กรผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ปฐมภูมิ วิชิตโชติ. (2558). การประยุกต์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาการใช้งานโปรแกรม GLPI ของพนักงานบริษัทในเครือวาลีโอ. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

พัชรินทร์ พุ่มลำเจียก. (2556). อิทธิพลเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

ภาสกร เรืองรอง. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(พิเศษ), 195-207.

วนิดา ตะนุรักษ์. (2560). อิทธิพลของทัศนคติต่อการใช้งานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีของพนักงานอุตสาหกรรมการค้าส่งและค้าปลีกไทย. Journal of the Association of Researchers, 22(1), 41-53.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตรวรรษที่ 21 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โอเพนเวิลด์.

วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล. (2550). การสังเกตการณ์ระยะยาวของการยอมรับ e-Learning กรณีศึกษา : นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. BU Academic Review, 6(1), 75-83.

วิวรรษา ภาวะไพบูลย์. (2558). การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แท็บเล็ตในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(1), 138-149.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (2559). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. สมุทรปราการ: สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). คู่มือการประกอบวิชาชีพครูทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

อติโมท อุ่นจิตติ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของข้าราชการฯ สังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

อาทิตย์ เกียรติกำจร. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยี : กรณีศึกษาการใช้เทคโนโลยี Interactive Whiteboard ในการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

Fishbein, M. and Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior : An introduction to theory and research. Ontario: Addison-Wesley.