การวิเคราะห์ความสมนัยระหว่างชั้นปีการศึกษา กิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นบัณฑิตพึงประสงค์ และความพึงพอใจต่อหลักสูตรสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

ณนนท์ แดงสังวาลย์
ประสพชัย พสุนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์ความสมนัยระหว่างชั้นปีการศึกษา กิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นบัณฑิตพึงประสงค์ และความพึงพอใจต่อหลักสูตรสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 ที่ลงทะเบียนเรียน สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวนทั้งสิ้น 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้คือ แบบมาตราส่วนประเมินค่าแบบตรวจสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสมนัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสัมพันธ์ของชั้นปีการศึกษากับกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นบัณฑิตพึงประสงค์ พบว่า ชั้นปีการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นบัณฑิตพึงประสงค์ 2) ความสัมพันธ์ของชั้นปีการศึกษากับความพึงพอใจต่อหลักสูตรสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร พบว่า ชั้นปีการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อหลักสูตรสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร 3) ความสัมพันธ์ของกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นบัณฑิตพึงประสงค์กับความพึงพอใจต่อหลักสูตรสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร พบว่า กิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นบัณฑิตพึงประสงค์ ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อหลักสูตรสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาเชิงการจัดการ พบว่า สาขาวิชาควรจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามชั้นปีการศึกษาดังนี้ ปีที่ 1 ควรจัดกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาในหลักสูตร ร่วมกับการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ ปีที่ 2 ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านวิชาการและวิชาชีพเฉพาะทาง ปีที่ 3 ควรจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม และปีที่ 4 ควรจัดกิจกรรมกิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และสาขาวิชาควรเน้นพัฒนาการฝึกอบรมอาจารย์ผู้สอนให้มีการจัดการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์และมีการประเมินผลตามโครงสร้างของหลักสูตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (2555). คู่มือกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา ACTIVITY TRANSCRIPT. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2561, จากhttps://intranet.pn.psu.ac.th

กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2559). คู่มือ กิจกรรมเสริมหลักสูตร โครงการก้าวแรกสู่ศาสตร์แห่งแผ่นดิน 2559 KU 76. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2561, จากhttps://nisit.kasetsart.org/manual/manual_ku76.pdf

กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (2561). คู่มือกิจกรรมเสริมหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2561, จากhttps://std.offpre.rmutp.ac.th

งานทะเบียนนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. (2561). รายงานจำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

จิรากรณ์ กลิ่นด้วง. (2558). ศึกษาตําแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ผลไม้ไทยแปรรูปในการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยการวิเคราะห์ความสมนัย (Correspondence analysis). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์ (2555). การเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ผ่านโครงการจิตอาสา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 14(1): 41-47.

บังอร เสรีรัตน์ (2560) การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL). 7(2): 164-181.

รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร. (2555). รายงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อง การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชา LSC 305 การจัดการผู้ขายปัจจัยการผลิตสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.spu.ac.th/tlc/files/2014

วรญา ทองอุ่น และจันจิราภรณ์ ปานยินดี. (2560). ความพึงพอใจต่อหลักสูตรการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 2(1): 1-12.

สมชาย บุญสุ่น. (2554). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุขศรี สงวนสัตย์. (2558). รายงานความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการจัดบริการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2561, จากhttps://www.sd.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=207

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่: เดอะโนว์เลจ เซ็นเตอร์.

สุริยัน อ้นทองทิม ภูกิจ เล้าจีรัณกุล ศศิวิมล พจน์พาณิชพงศ์ และชลิตตาภรณ์ ดวงติ๊บ. (2560). การปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาภายในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 23(1): 18-25.

Aye Mengistu Alemu, Jason Cordier. (2017). Factors influencing international student satisfaction in Korean universities. International Journal of Educational Development. 57(1): 54–64.