สมรรถนะที่คาดหวังและสมรรถนะตามสภาพจริงของพนักงานขับรถบรรทุกในมุมมองของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน จังหวัดระยอง

Main Article Content

ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะที่คาดหวังและสมรรถนะตามสภาพจริงของพนักงานขับรถบรรทุกในมุมมองของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน จังหวัดระยอง และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะที่คาดหวังและสมรรถนะตามสภาพจริงของพนักงานขับรถบรรทุกในมุมมองของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน จังหวัดระยอง จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการด้านระยะเวลาในการเปิดกิจการ ประเภทรถบรรทุก ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยเป็นตัวแปรเกี่ยวกับสมรรถนะประกอบด้วยด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานขับรถบรรทุก โดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดระยองที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก หรือ ผู้บริหารที่ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน จำนวน 361 ราย


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Anova) และเชฟเฟ่ (Scheffe Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของพนักงานขับรถบรรทุกตามความคาดหวังในมุมมองของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 และรายด้าน พบว่า มีสมรรถนะอยู่ในระดับมากทุกด้าน
ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ด้านทักษะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 และด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 สำหรับสมรรถนะของพนักงานขับรถบรรทุกตามความเป็นจริงในมุมมองของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 และรายด้าน พบว่า มีสมรรถนะอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ด้านทักษะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 และด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68


ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของสมรรถนะตามสภาพจริงและสมรรถนะที่คาดหวังของพนักงานขับรถบรรทุกในมุมมองของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน จังหวัดระยอง จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการด้านระยะเวลาในการเปิดกิจการ ประเภทรถบรรทุก พบว่า สมรรถนะที่คาดหวังของพนักงานขับรถบรรทุกในมุมมองของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน จังหวัดระยอง ด้านระยะเวลาในการเปิดกิจการ และประเภทรถบรรทุก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะตามสภาพจริงของพนักงานขับรถบรรทุกในมุมมองของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนน จังหวัดระยอง พบว่า ระยะเวลาในการเปิดกิจการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประเภทรถบรรทุกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. กองแผนงาน. กลุ่มสถิติการขนส่ง. (2561). ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2561, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/

กระทรวงคมนาคม. กรมทางหลวง. สำนักอำนวยความปลอดภัย. (2561). กลุ่มผู้ใช้ทางหลวง รายงานประจำปี 2560 อุบัติเหตุจราจรบนทางหลวงแผ่นดิน ปี 2560, สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2561, จาก http://bhs.doh.go.th/files/accident/60/report_accident2560.pdf

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 7(2), 112-121.

ปิยะนุช สถาพงศ์ภักดี. (2561). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2561-63 ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนน. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2561, จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/86f90ec7-f0c6-44fb-b3aa-7c3ae7ca1c56/IO_Road_Freight_180705_TH_EX.aspx

วันดี ชัยวงศ์ และ พรรษวุฒิ สาระวิโรจน์. (2558). คุณภาพการบริการที่คาดหวังและที่รับรู้ของลูกค้าศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วันธณี สุดศิริ, ศิวาพร ทรงวิวัฒน์ และ วงศ์มณี ชาติหาญ. (2553). การเปรียบเทียบคุณลักษณะของนักบัญชีที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ตามทัศนะของบุคลากรในสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561ก). โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์เพื่ออนาคตประเทศไทย : ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561, จาก https://www.nesdb.go.th/download/document/Yearend/2017/bookgroup4.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561ข). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2561, จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2559). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2561). ตารางปริมารณการขนส่งสินค้าและต้นทุนสินค้า ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561, จาก https://data.go.th/DatasetDetail.aspx?id=899b1aa6-05b5-4429-95c0-75f3bab32a32

อุไร สุทธิแย้ม. (2557). คุณลักษณะที่เป็นจริงกับคุณลักษณะที่คาดหวังของผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

McClelland, David C. (1973). Testing for competence rather than for “Intelligence”. American Psychologist, 28(1), 1-14.