ผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่มีต่อผลผลิตข้าวในเขตภาคเหนือ

Main Article Content

ศศิวิมล ภู่พวง
นิโรจน์ สินณรงค์
กฤตวิทย์ อัจฉริยพาณิชย์กุล
ขนิษฐา เสถียรพีระกุล

บทคัดย่อ

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อนและภาคการเกษตรของไทยก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยเฉพาะพื้นที่สำหรับการปลูกข้าวมีมากถึงร้อยละ 46 ของพื้นที่ป่าไม้และการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรทั้งหมด การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่มีต่อผลผลิตข้าวในเขตภาคเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติในการวิเคราะห์ข้อมูลพาแนล (Panel Data) ของจังหวัดในภาคเหนือ 15 จังหวัด รวม 31 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 – 2560 โดยใช้แบบจำลอง Fixed Effect และใช้วิธีการประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบทั่วไปที่เป็นไปได้ (Feasible Generalized Least Squares : FGLS) เพื่อประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของสมการค่าเฉลี่ย ผลการวิเคราะห์พบว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยและความแปรปรวนของอุณภูมิจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อผลผลิตข้าวนาปี ส่วนปัจจัยด้านปริมาณน้ำฝน ความแปรปรวนของน้ำฝนรวม และความแปรปรวนของวันที่ฝนตก กลับส่งผลกระทบทางบวกหรือส่งผลดีต่อผลผลิตข้าวนาปี ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า ปัจจัยของสภาพอากาศเป็นตัวแปรที่สามารถส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกษตรกรควรเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อลดผลกระทบในอนาคต ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้เตรียมการช่วยเหลือ สนับสนุน และหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะบรรเทาหรือช่วยลดความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2562 จาก, https://is.gd/effWXR

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560). ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และแผนพัฒนาการเกษตรในช่วงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงฯ.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562ก). รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงฯ.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562ข). สถิติการเกษตรของประเทศไทย 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงฯ.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562ค). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้าปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงฯ.

เกริก ปั้นเหน่งเพ็ชร และ คนอื่น ๆ. (2552). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “โครงการผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อการผลิตข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพดของประเทศไทย”. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.).

วิเชียร เกิดสุข, ศุภกร ชินวรรโณ และ พรวิไล ไทรโพธิ์ทอง. (2556). การประเมินผลกระทบ ความเสี่ยงความล่อแหลมเปราะบาง และแนวทางการปรับตัว ของระบบการเกษตรและสังคมเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต : กรณีศึกษาลุ่มนํ้าชี-มูล. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.).

Felkner, J., Tazhibayeva, K., and Townsend, R. (2010). Impact of climate change on rice production in Thailand. American Economic Review, 99(2), 1-9.

Gardebroek, C., Chavez, M.D. and Lansink, A.O. (2010). Analyzing production technology and risk in organic and conventional Dutch Arable farming using panel data. Journal of Agricultural Economics, 61(1), 60-75.

Levin, A., Lin, C. F. and Chu, C. (2002). Unit root tests in panel data : Asymptotic and finite-sample properties. Journal of Econometrics, 108(1), 1-24.
Oscar, Torres-Reyna. (2007). Panel data analysis fixed and random effects using stata (v.4.2). Retrieved October 12, 2017, from https://dss.princeton.edu/training/Panel101.pdf

StataCorp. (2013). Stata : Release 13 Stata longitudinal-data/panel-data reference manual statistical software. College Station, Texas: StataCorp LP.