ผลกระทบระหว่างการตกแต่งกำไรต่อการอยู่รอดในระยะยาว ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบระหว่างการตกแต่งกำไรต่อการอยู่รอด ในระยะยาวของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2559 จำนวนทั้งสิ้น 1,155 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยการศึกษาครั้งนี้วัดการตกแต่งกำไรด้วยรายการคงค้างทางบัญชีส่วนที่เกิดจากดุลยพินิจของผู้บริหาร และใช้ Solvency Ratio เป็นตัวแทนของการอยู่รอดในระยะยาว
ผลการวิจัยพบว่า รายการคงค้างทางบัญชีส่วนที่เกิดจากดุลยพินิจของผู้บริหารมีผลกระทบทางบวกต่อการอยู่รอดในระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นแล้วประเภทของผู้สอบบัญชีจากสำนักงานตรวจสอบบัญชีขนาดใหญ่ (Big4) และขนาดของกิจการไม่มีความสัมพันธ์กับการอยู่รอดในระยะยาว
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.set.or.th/th/sitemap/for_listed_company.html
ติรนันท์ รุ่งสว่าง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกรูปแบบการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสารสนเทศ, 14(2), 3-10.
พรสวัสดิ์ มงคลชัยอรัญญา และ นวพร ประสมทอง. (2551). ทฤษฎีว่าด้วยฐานทรัพยากร : อะไรที่สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา, 3(8), 1-12.
วณิชยา แสนท้าว. (2560). ความสัมพันธ์ของการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติกับมูลค่ากิจการ. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2547). ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการพิจารณาการทุจริตในการตรวจสอบงบการเงิน, สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.fap.or.th/i…/column_1456798539/FAPNews39_1415.pdf
สมชาย ศุภธาดา. (2553). รายงานต่อประชาคมโลก เรื่อง การทุจริตฉ้อฉลในองค์กร. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(17), 16-17.
สุคนธ์ทิพย์ เนตระกาศ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกําไรกับโอกาสในการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สุภารัตน์ ตันฑ์พรชัย. (2559). แบบจำลองการจัดการกำไร. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อรกานต์ ผดุงสัจจกุล. (2554). ความแตกต่างของคุณภาพงานสอบบัญชีระหว่างสำนักงานสอบบัญชี Big4 และ Non-Big4 สามารถบอกลักษณะของลูกค้าได้หรือไม่ หลักฐานจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Lennox, C. S. (1999). Audit quality and auditor size : An evaluation of reputation and deep pockets hypotheses. Journal of Business Finance and Accounting, 26(7-8), 779-805.
Scott, W. R. (2003). Financial accounting theory. (3rd ed). Toronto, Canada : Pearson Education Canada.