การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มธุรกิจบริการ เขตภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย โดยใช้การวัดผลปฏิบัติงานแบบดุลยภาพ

Main Article Content

เบญจวรรณ เบญจกรณ์
ภูมิพัฒณ์ มิ่งมาลัยรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมจุดเด่น จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มธุรกิจบริการ เขตภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย และ การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมจุดเด่น จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มธุรกิจบริการ เขตภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจบริการ เขตภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย โดยใช้การวัดผลปฏิบัติงานแบบดุลยภาพเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลของวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทั้งนี้ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงรวมทั้งสิ้น จำนวน 10 คน และในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจบริการ จำนวน 369 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสำเร็จการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจบริการกับข้อมูลเชิงประจักษ์


ผลการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การวิเคราะห์จุดเด่นจุดอ่อนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจบริการ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบุคลากร 2) การตลาด 3) การบริหารจัดการ 4) ต้นทุน ขณะที่ โอกาส และข้อจำกัด ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจบริการสามารถ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการแข่งขัน 2) ด้านเทคโนโลยี 3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  และ 4) การเมือง


ผลการศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้อง พบว่า โมเดลองค์ประกอบปัจจัยความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจบริการหลังการปรับปรุง พบว่า ค่า p มีค่าเท่ากับ .052 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ จึงสรุปได้ว่า โมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และเมื่อพิจารณาสถิติอื่นที่เกี่ยวข้อง พบว่าค่า (2/df เท่ากับ 1.480 ค่า CFI เท่ากับ .996 ค่า TLI เท่ากับ .988 ค่า RMSEA  เท่ากับ .026 และค่า HOELTER เท่ากับ 740 ค่าสถิติทั้งหมดผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด จึงสรุปได้ว่า โมเดลองค์ประกอบปัจจัยความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจบริการกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติมา หวังเบ็ญหมัด และ ธนัชชา บินดุเหล็ม. (2557). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี, 1(1), 109-122.

ทวีเกียรติ ประพฤทธิ์ตระกูล. (2553). การบ่งชี้ตัวชี้วัดองค์การที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันโดยวิธีการทางเดลฟาย. วารสารบริหารธุรกิจ, 33(126), 28-41.

ปิยะพร ไทยสรวง และ สมบัติ ธำรงสินถาวร. (2556). ผลของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ประกอบการต่อคุณภาพสัมพันธภาพระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคในธุรกิจสปาขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(1), 38-48.

ภัทรภร ชัยพุทธนพันธ์ และ ราณี อิสิชัยกุล. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจโรงแรมบูติคขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 9(2), 78-89.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และ เบญญาภา กันทะวงศ์วาร. (2554). การบริหารความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยการวัดผลปฏิบัติงานแบบดุลยภาพ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 2(1), 41-57.

รุ่งนภา ต่ออุดม. (2556). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตร ภาคการค้า ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2559, จาก http://www.research.rmutt.ac.th/?p=2150

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2559). ศักยภาพในการแข่งขันและความพร้อมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1), 9-32.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). จำนวนผู้ประกอบการจำแนกตามภูมิภาคและขนาดวิสาหกิจ ในปี 2560. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2560, จากhttp://119.63.93.73/sme2015/Report/View/1188

Amit, R., and Schoemaker, P. J. (1993). Strategic assets and organizational rent. Strategic Management Journal, 14(1), 33-46.

Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed). New York: Harper.

Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1992). The balanced scorecard measures that drive performance. Harvard Business Review, 69(1), 71-79.