ลักษณะการดำเนินงานและรูปแบบของโฮมสเตย์ในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ลักษณะการดำเนินงานและรูปแบบของโฮมสเตย์ในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินงานและรูปแบบของโฮมสเตย์ในจังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยประธานชุมชน ผู้นำชุมชน ของโฮมสเตย์ในจังหวัดเชียงรายที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย และยังคงให้บริการอยู่จนถึงปัจจุบัน จำนวน 18 แห่ง โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้ลักษณะของโมเดลธุรกิจเป็นข้อคำถาม และศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่าการดำเนินงานของโฮมสเตย์จะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และคนที่ต้องการมาศึกษาดูงาน โดยมาใช้บริการด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน และสามารถแบ่งรูปแบบของโฮมสเตย์ได้ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 นักท่องเที่ยวที่ต้องการหาประสบการณ์แปลกใหม่ รูปแบบที่ 2 คนที่ต้องการมาศึกษาดูงาน และรูปแบบที่ 3 นักท่องเที่ยวที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนในชุมชน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กฤตยา เตยโพธิ์ และ พนัส โพธิบัติ. (2561). วัฒนธรรมโฮมสเตย์ : การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(1), 20-40.
กรมการท่องเที่ยว. (2559). รายชื่อโฮมสเตย์จังหวัดเชียงรายที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561, จาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา: https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=411&filename=index
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กุสุมา พรหมจันทร์. (2551). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสัมผัสวัฒนธรรมในรูปแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษาโฮมสเตย์บ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
เปรมปรีดา ทองลา. (2560). แนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์สู่มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย กรณีศึกษาโฮมสเตย์ จังหวัดจันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2560, จาก https://bit.ly/2R5Dzs1
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557, ธันวาคม 1). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาบ้านโคกไคร จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/27460
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2561, จาก สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย: http://www.cots.go.th/pages/?page=cr_develop
อริสรา เสยานนท์ และ ไพรินทร์ สมภพสกุล. (2553). การสร้างมูลค่าการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของธุรกิจโฮมสเตย์ : กรณีศึกษาโฮมสเตย์บริเวณตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ:
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
Falak, Shaista, Chiun, Lo May and Wee, Alvin Yeo. (2014, May 19). A repositioning strategy for rural tourism in Malaysia - community’s perspective. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 220(14), Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042814042384
Hassan, Almoatazbillah. (2012, June 1). The value proposition concept in marketing : How customers perceive the value delivered by firms – A study of customer perspectives on supermarkets in Southampton in the United Kingdom.
International Journal of Marketing Studies, 4(3), Retrieved from http://dx.doi.org /10.5539/ijms.v4n3p68
Lama, Minki. (2013). Community homestay programmes as a form of sustainable tourism development in Nepal. (Degree Programme in Tourism). Centria University of Applied Sciences. Finland.
Lopatovska, Irene. (2012, October 9). Toward a model of emotions and mood in the online information search process. Journal of the Association for Information Science and Technology, 65(9), Retrieved from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/ 10.1002/asi.23078
Noor, Mohd, Hafiz, Mohd, Aminuddin, Norliza, et al. (2015, April 25). Community-based homestay service quality, visitor satisfaction, and behavioral intention.
Procedia - Social and Behavioral Sciences, 222(12), Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042816302671