การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้หนังสือการ์ตูนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเด่นเหล็ก ตำบลเด่นเหล็ก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ธีร์กัญญา อินทอง
พิชญา สกุลวิทย์
อุษณีย์ เขนยทิพย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสือการ์ตูนส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการอ่านจับใจความ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสือการ์ตูนส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านเด่นเหล็ก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน  22 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษา พบว่า หนังสือการ์ตูนส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.64/82.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหนังสือการ์ตูนส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือการ์ตูนส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.52)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา ใบกาซูยี. (2542). แนวทางการจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การทำหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อมรการพิมพ์.

ชวาล แพรัตนกุล. (2520). เทคนิคการเขียนข้อสอบ. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2545). การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่านและหนังสืออ่านเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิฟเพรส.

ภิญญาพร นิตยะประภา. (2534). การผลิตหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

รัษมี บุญญะสิทธิ์. (2530). การสร้างหนังสือสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุชาติ เจริญฤทธิ์. (2543). การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง “เที่ยวเมืองพังงา”. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.