ความเข้าใจภาษีมรดก
Main Article Content
บทคัดย่อ
เรื่องของมรดกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้คนในสังคมวงกว้าง เพราะถ้ากล่าวถึงคำว่า มรดก ไม่ใช่แค่ในเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง แต่อาจรวมไปถึงองค์ความรู้ ภูมิปัญญาต่าง ๆ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ แต่เมื่อมีการให้ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าด้านสังคม คำว่า มรดก จึงมักเน้นไปในเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน อีกทั้งบุคคลที่มีมรดกมักเป็นผู้ที่มีฐานะทางการเงินที่ดี จึงให้ความสำคัญในเรื่องการวางแผนภาษีในธุรกรรมต่าง ๆ ของตนเอง ดังนั้นผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีมรดก เพื่อให้เกิดความเข้าใจในบริบทของภาครัฐ และผู้เสียภาษี
พระราชบัญญัติภาษีมรดก เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2559 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม แต่ ณ สถานการณ์ปัจจุบันหลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติฯ มาประมาณ 1 ปี ผลปรากฏว่า กรมสรรพากรไม่สามารถจัดเก็บภาษีมรดกได้ ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลได้มีการแก้ไขข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของการให้โดยเสน่หาไปพร้อม ๆ กับการตราพระราชบัญญัติภาษีมรดก ซึ่งเดิมตามประมวลรัษฎากรนั้น การให้สังหาริมทรัพย์มีการยกเว้นภาษีเงินได้กรณีการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งหมด หรือการให้อสังหาริมทรัพย์ มีการยกเว้นภาษีเงินได้ทั้งหมด
พระราชบัญญัติภาษีมรดก และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) เรื่อง การรับให้ มีความแตกต่างกัน เช่น 1) การจัดเก็บภาษีที่เป็นมรดกจะจัดเก็บเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แต่การรับให้จัดเก็บระหว่างที่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ 2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมรดกเป็นได้ทั้งบุคคลและนิติบุคคล ในขณะที่ภาษีรับให้จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา และ 3) อัตราภาษี เป็นต้น การวางแผนภาษีของเจ้ามรดก โดยมากมักเป็นวิธีการที่ได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษา และผ่านการไตร่ตรอง เพื่อลงมือดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ เช่น ทยอยโอนทรัพย์สินระหว่างที่เจ้ามรดกยังมีชีวิต โดยแต่ละครั้งไม่เกิน 20 ล้านบาท หรือจัดตั้งบริษัทจำกัดเพื่อให้เสียภาษีเงินได้ในอัตราคงที่และอาจได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกด้วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างมากในการดำเนินการจัดเก็บภาษีการรับมรดกให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตามหากผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ของภาษี รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว เมื่อนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกบังคับใช้จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. บทบัญญัติต่าง ๆ ในกฎหมายตราสามดวง. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2561, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=4&page=t30-4-infodetail05.html
ไตรรงค์ โตกระแส. (2558). แนวคิดเกี่ยวกับภาษีมรดกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2561, จาก http://library.senate.go.th/document/Ext9247/9247342_0002.PDF
ไทยรัฐ. (2560). 5 ทางรอดปลอดภาษีมรดก. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/948582
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558. (2558, สิงหาคม 5). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 72 ก. หน้า 12-15.
กรมสรรพากร. (2560). รายงานผลการจัดเก็บภาษีรายปี ปีงบประมาณ 2550 - 2559. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.rd.go.th/publish/310.0.html
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. บทบัญญัติต่าง ๆ ในกฎหมายตราสามดวง. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2561, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=4&page=t30-4-infodetail05.html
ไตรรงค์ โตกระแส. (2558). แนวคิดเกี่ยวกับภาษีมรดกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2561, จาก http://library.senate.go.th/document/Ext9247/9247342_0002.PDF
ไทยรัฐ. (2560). 5 ทางรอดปลอดภาษีมรดก. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/948582
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558. (2558, สิงหาคม 5). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 72 ก. หน้า 12-15