การพัฒนาผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามรูปแบบการพัฒนากระบวนการ ประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา

Main Article Content

เจนศักดิ์ แสงคำเฉลียง
สุราษฎร์ พรมจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการพัฒนาผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามรูปแบบการพัฒนากระบวนการประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการพัฒนาการประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับคู่มือการพัฒนาผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามรูปแบบการพัฒนากระบวนการประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา และการประเมินความพึงพอใจในการฝึกอบรม โดยวิเคราะห์แบบกิจกรรมตามคู่มือการพัฒนาและสร้างข้อคำถามเพื่อใช้ในการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการพัฒนาการประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา ซึ่งผู้เข้าร่วมการพัฒนาเป็นครูผู้มีประสบการณ์ในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ จำนวน 32 คน สังกัดวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีแบบกิจกรรมเพื่อใช้ในการทดสอบ 8 กิจกรรม ซึ่งตั้งเกณฑ์การผ่านแบบกิจกรรมด้วยคะแนนร้อยละ 80 และจำนวนของผู้ผ่านการประเมินผลร้อยละ 80 ขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบกิจกรรมนิยามศัพท์และความหมาย มีค่าร้อยละ 86.56 2) แบบกิจกรรมมาตรฐานความรู้และมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ มีค่าร้อยละ 86.25  3) แบบกิจกรรมมาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการปฏิบัติตน มีค่าร้อยละ 87.50 4) แบบกิจกรรมเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานความรู้ มีค่าร้อยละ 87.50 5) แบบกิจกรรมเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ มีค่าร้อยละ 84.37 6) แบบกิจกรรมเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงาน มีค่าร้อยละ 84.37 7) แบบกิจกรรมเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานการปฏิบัติตน มีค่าร้อยละ 84.68 8) แบบกิจกรรมเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานวิชาชีพ มีค่าร้อยละ 84.68 และในการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมพัฒนา ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า (Rating Scale)  5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า  1) ด้านเนื้อหาความรู้และการถ่ายทอด มีค่าเฉลี่ย 4.87  2) ด้านกิจกรรมและแบบกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย 4.41  3) ด้านระยะเวลาและสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย 4.77 4) ด้านเอกสารและคู่มือแนวทางการพัฒนา มีค่าเฉลี่ย 4.42 5) ด้านวิทยากรและผู้ประสานงาน มีค่าเฉลี่ย 4.82  


จึงสรุปได้ว่า ผู้เข้าร่วมการพัฒนาการประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามรูปแบบการพัฒนากระบวนการประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาผ่านเกณฑ์การพัฒนาด้วยคะแนนจากแบบกิจกรรม ร้อยละ 85.74 และทุกคนผ่านการประเมินผล ร้อยละ 100.00 มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาในทุกด้านไม่ต่ำกว่าระดับมาก ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ในระดับมากที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชพล บุญเติม. (2543). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2556, มีนาคม 8). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 31 ง. หน้า 20-35.

ไพโรจน์ สถิรยากร. (2547). การพัฒนารูปแบบฝึกอบรมเทคนิคการสอนงานปฏิบัติในหน่วยงาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.

สมคิด สายแวว. (2546). การพัฒนากระบวนการกำหนดระดับคุณวุฒิวิชาชีพกลุ่มงานยานยนต์สำหรับประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557ก). หลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557ข). หลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพในปี 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

อร่ามศรี อาภาอดุล. (2549). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาและการฝึกอบรมของศูนย์การเรียนในสถานประกอบการเพื่อเข้าสู่คุณวุฒิทางการศึกษาและคุณวุฒิวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ