สภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูเกษียณจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ภิญญาพัชญ์ กาวินคำ
วิชิต เทพประสิทธิ์
นิธิกุล อินทรทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศของครูเกษียณจังหวัดเชียงราย ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ กลุ่มครูเกษียณสังกัดสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน แบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีค่าความเชื่อมั่น 0.9483 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาสภาพสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพบว่า มีพฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4 พฤติกรรม เรียงตามลำดับ คือ สามารถใช้สมาร์ทโฟนได้  สามารถใช้แอปพลิเคชันติดต่อสื่อสาร เช่น ไลน์ ได้ สามารถใช้ Google Search  ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ และใช้คำเชื่อมในการสืบค้นสารสนเทศ เช่น และ หรือ


ผลการศึกษาความต้องพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า มีพฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก คือ สามารถใช้แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ได้ พฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับ คือ สามารถตกแต่งภาพอย่างง่ายโดยการปรับค่าสี เพิ่มข้อความไปบนภาพได้ สามารถใช้แอปพลิเคชันติดต่อสื่อสาร เช่น ไลน์ ได้ และสามารถใช้สมาร์ทโฟนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัย พงษ์ประยูร. (2550). ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสังคมไทย. วารสารราชบัณฑิตสถาน, 33(2), 15-18.

เทียบข้อมูลการใช้งานระหว่าง “สมาร์ทโฟน” และ “แท็บเล็ต” แบบจุดต่อจุด. (2560). สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2561, จาก https://thumbsup.in.th/2013/01/tablet - vs-smartphone-infographic/

พิษณุพงษ์ จิระโภคานนท์. (2553). ความคิดเห็นและความต้องการของผู้สูงอายุต่อการเรียนคอมพิวเตอร์ : กรณีศึกษาสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเขตบางขุนเทียน. (ปริญญานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และ มินตรา สดชื่น. (2560). รูปแบบการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในสังคมไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ใน รายงานสืบเนื่อง การประชุมวิชาการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลครั้งที่ 9 (หน้า 1998-1605). นครปฐม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ระพีพัฒน์ ธนะพัฒน์ และ คนอื่น ๆ. (2556). ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟน เลือกใช้ให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2561, จาก https://sites.google.com/a/bumail.net/ smartphones-lifestyle/brrnanukrm

วราภรณ์ จิรชีพพัฒนา. (2554). การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ Information technologyproject development. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอกสารวิชาการสถาบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฉัตรชัย พงษ์ประยูร. (2550). ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสังคมไทย. วารสารราชบัณฑิตสถาน, 33(2), 15-18.

เทียบข้อมูลการใช้งานระหว่าง “สมาร์ทโฟน” และ “แท็บเล็ต” แบบจุดต่อจุด. (2560). สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2561, จาก https://thumbsup.in.th/2013/01/tablet - vs-smartphone-infographic/

พิษณุพงษ์ จิระโภคานนท์. (2553). ความคิดเห็นและความต้องการของผู้สูงอายุต่อการเรียนคอมพิวเตอร์ : กรณีศึกษาสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเขตบางขุนเทียน. (ปริญญานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และ มินตรา สดชื่น. (2560). รูปแบบการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในสังคมไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ใน รายงานสืบเนื่อง การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลครั้งที่ 9 (หน้า 1998-1605). นครปฐม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ระพีพัฒน์ ธนะพัฒน์ และ คนอื่น ๆ. (2556). ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟน เลือกใช้ให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2561, จาก https://sites.google.com/a/bumail.net/ smartphones-lifestyle/brrnanukrm

วราภรณ์ จิรชีพพัฒนา. (2554). การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ Information technologyproject development. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอกสารวิชาการสถาบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.