แนวทางการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

วรรณกานต์ ชอบจิตต์
สมบูรณ์ อริยา
สุวดี อุปปินใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายและเพื่อศึกษาแนวทางการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ศึกษาจากประชากร จำนวน 164 คน ประกอบด้วยผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา จำนวน 6 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 62 คน อาจารย์คณะครุศาสตร์ สาขาการบริหารการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 6 คน และนักศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปี 2558 - 2559 จำนวน 90 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในการทำสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และฐานนิยม นำเสนอรูปแบบตาราง และความเรียง ผลการศึกษาสภาพการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พบว่า ภาพรวมอยู่ระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประสานงาน ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์การ ด้านการรายงาน ด้านการจัดการบุคลากรในองค์การ ด้านอำนวยงาน และด้านการเงินงบประมาณ แนวทางการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พบว่า แนวทางการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายใน 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ระยะดำเนินการ และระยะประเมินผล มีดังนี้


  1. ระยะเตรียมการ แนวทางการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ระยะเตรียมการ ด้านการวางแผน มหาวิทยาลัย หน่วยงาน สถานศึกษา และนักศึกษาควรดำเนินการสำรวจข้อมูลแหล่งฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ การวางแผน การกำหนดรูปแบบหรือคู่มือการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ จัดประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ การจัดปฐมนิเทศ การจัดทำปฏิทินและช่วงเวลาในการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา ด้านการจัดการบุคคล มหาวิทยาลัยควรมอบหมายให้อาจารย์นิเทศให้คำแนะนำ และชี้แจงขอบข่ายงานให้แก่นักศึกษาฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษาที่ตนเองรับผิดชอบ ด้านการงบประมาณ มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนงบประมาณการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการบริหารการศึกษาให้แก่นักศึกษาในส่วนของการจัดนิทรรศการปัจฉิมนิเทศ

  2. ระยะดำเนินการ ด้านการวางแผน มหาวิทยาลัย หน่วยฝึก สถานศึกษา และนักศึกษาควรเข้าร่วมการปฐมนิเทศ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจร่วมกัน มีการพบปะกันเพื่อร่วมแก้ปัญหาระหว่างการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพทางการศึกษาร่วมกัน ด้านการจัดการบุคคล ควรมอบหมายให้อาจารย์นิเทศ นิเทศติดตาม ให้คำแนะนำ และชี้แจงขอบข่ายงานแก่นักศึกษาฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ การนำนักศึกษาฝึกปฏิบัติการวิชาชีพไปแนะนำให้กับหน่วยฝึกหรือสถานศึกษา ด้านการงบประมาณ ควรดำเนินการสนับสนุนงบประมาณ

  3. ระยะประเมินผล ด้านการวางแผน มหาวิทยาลัย หน่วยฝึก สถานศึกษา และนักศึกษาควรมี การประเมินผลร่วมกันตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดหรือตามเครื่องมือในการประเมินผลร่วมกัน ควรดำเนินการตามแผนการจัดนิทรรศการปัจฉิมนิเทศการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ ด้านการจัดการบุคคล ควรกำหนดบุคลากรจัดนิทรรศการปัจฉิมนิเทศการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ ด้านการประสานงาน ควรจัดให้มีการเชิญบุคลากรจากมหาวิทยาลัย ตัวแทนหน่วยฝึก ตัวแทนสถานศึกษา ในวันจัดนิทรรศการปัจฉิมนิเทศ เพื่อรับทราบถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป ด้านการงบประมาณ ควรให้การสนับสนุนงบประมาณในจัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศให้แก่นักศึกษา ด้านการรายงาน ควรมีการจัดทำรูปเล่มรายงานผลให้กับหน่วยงานหรือสถานศึกษาเพื่อทำให้ทราบผลสะท้อนกลับระหว่างนักศึกษาฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ สถานศึกษา และหน่วยฝึก ควรสรุปผลการจัดนิทรรศการปัจฉิมนิเทศและสังเคราะห์ปัญหาเพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาและสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขต่อการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพในรุ่นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คู่มือการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพการบริหารการศึกษาและการบริหารการศึกษา. (2559). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เฉลิมพล วิรัญ, สินธุ์ สโรบล, สมคิด แก้วทิพย์ และ คนอื่น ๆ. (2554). การใช้ POSDCoRB Model ในฐานะเครื่องมือทางการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิคม จันทร์อิ่ม. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. พิษณุโลก.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิรัช นิภาวรรณ. (2549). หลักรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษาและบทวิเคราะห์องค์การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์พิสุทธิ์.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิจิตรหัตถกร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์ และ คนอื่น ๆ. (2545). องค์การและการจัดการองค์การ O & M : Organization and Management. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สมยศ นาวีการ. (2546). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2550). การจัดการจากมุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จีพี ไซเบอร์พรินท์