ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาพื้นที่พิเศษ จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อค้นหาแนวทางและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาพื้นที่พิเศษ จังหวัดเชียงราย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2565) โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาพื้นที่พิเศษ จังหวัดเชียงราย จำนวน 32 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสำรวจ/ตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานตามสภาพจริง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการประชุมสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันมีคุณภาพการดำเนินงานสูงสุดในด้านการจัดองค์การ (= 3.26) รองลงมา คือ ด้านการควบคุม ส่วนรายการที่มีคุณภาพการดำเนินงานต่ำสุด ได้แก่ ด้านการวางแผน (= 3.07) และทักษะอาชีพที่มีคุณภาพการดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ ทักษะด้านภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (= 3.10) รองลงมา คือ ทักษะด้านสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ส่วนทักษะที่มีคุณภาพการดำเนินงานต่ำสุด ได้แก่ ทักษะด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว (= 2.88) 2) ความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานสูงสุด ได้แก่ ด้านการวางแผน (PNIModified = 0.47) รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติตามแผน (PNIModified = 0.43) และทักษะ ที่มีความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานสูงสุด คือ ทักษะด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว (PNIModified = 0.49) รองลงมา คือ ทักษะด้านการเป็นผู้ริเริ่มและกำกับดูแลตนเองได้ (PNIModified = 0.48) 3) แนวทางในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาพื้นที่พิเศษ จังหวัดเชียงราย ได้แก่ 1) การวางแผนการใช้ทรัพยากรระหว่างเครือข่ายและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน 2) การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดต่อ สื่อสารและกำหนดอำนาจหน้าที่ให้บุคลากรได้รับผิดชอบตามที่ตนเองถนัดและส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3) มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ เอกชน และผู้ประกอบการ สร้างโอกาสให้บุคลากรได้รับรู้ในงานที่ปฏิบัติและปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึง 4) ควรศึกษาวิเคราะห์นโยบายเพื่อนำมากำหนดเป็นเกณฑ์ในการควบคุม มีวางแผนการวิเคราะห์ความเสี่ยงและบริหารความเสี่ยง 5) ควรมีการจัดทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการ ของผู้เรียนและชุมชน เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบด้านทักษะอาชีพ 5 ทักษะ พบว่า ควรมีการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการและสร้างระบบการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐาน เปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพอย่างหลากหลาย 6) ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาพื้นที่พิเศษ จังหวัดเชียงราย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2565) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมาก มี 7 ด้าน 1) ด้านการพัฒนารูปแบบการศึกษาเพื่อทักษะอาชีพและการมีงานทำ 2) ด้านการส่งเสริมการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อตรวจสอบและประเมินผลการบริหารจัดการ 3) ด้านการส่งเสริมการสร้างเครือข่าย การปฏิบัติงานร่วมกัน 4) ด้านการพัฒนาแผนการควบคุมการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมภารกิจ 5) ด้านการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการองค์กร เน้นการกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม 6) ด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา ส่งเสริมการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อระดมทรัพยากรในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพและการมีงานทำ และ 7) ด้านการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการศึกษาเพื่ออาชีพและการมีงานทำ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
เฉลิมพล วิรัญ, สินธุ์ สโรบล, สมคิด แก้วทิพย์ และ คนอื่น ๆ. (2554). การใช้ POSDCoRB Model ในฐานะเครื่องมือทางการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิคม จันทร์อิ่ม. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. พิษณุโลก.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิรัช นิภาวรรณ. (2549). หลักรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษาและบทวิเคราะห์องค์การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์พิสุทธิ์.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิจิตรหัตถกร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์ และ คนอื่น ๆ. (2545). องค์การและการจัดการองค์การ O & M : Organization and Management. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สมยศ นาวีการ. (2546). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2550). การจัดการจากมุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จีพี ไซเบอร์พรินท์.