พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดแนวคิดใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหาร ริมบาทวิถีในยุคปกติใหม่ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วรวุธ ผลส่ง
รัชชานนท์ แย้มศรี
ไพริน รัตนะวัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสำคัญในการตัดสินใจบริโภคอาหารริมบาทวิถีจำแนกตามพฤติกรรมการบริโภคอาหารริมบาทวิถี 2) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด (4’Es) และการจัดสินใจบริโภคอาหารริมบาทวิถี 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด (4’Es) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารริมบาทวิถี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคอาหารริมบาทวิถีในกรุงเทพมหานคร จำนวน 405 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์
ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างรายคู่ และทำการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ โดยการกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร 1 ด้าน คือ ด้านความสำคัญในการบริโภคอาหารที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจบริโภคอาหารริมบาทวิถีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พฤติกรรมการบริโภคอาหารอีก 6 ด้าน มีการตัดสินใจบริโภคอาหารริมบาทวิถีที่ไม่แตกต่างกัน 2) ระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด (4’Es) อันดับที่ 1 คือ ความคุ้มค่าของผู้บริโภค โดยมีระดับการตัดสินใจบริโภคอาหารริมบาทวิถีอยู่ในระดับมาก 3) ส่วนประสมทางการตลาด (4’Es) ด้านการสร้างประสบการณ์ (β=0.172) ด้านการเข้าถึงผู้บริโภค (β=0.158) และด้านการสร้างผู้ติดตามในตราสินค้า (β=0.151) สามารถทำนายการพยากรณ์การได้ร้อยละ 8.2 ของการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารริมบาทวิถีในยุคปกติใหม่ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2564). สืนค้นจาก https://www.anamai.moph.go.th/th

ฉัตรชัย นกดี. (2563). วิถีใหม่ อาหารไทยริมบาทวิถี. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/

เรวดี จงสุวัฒน์ และ จันทร์จิรา โพธิ์สัตย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถี. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). สืบค้นจาก http://foodsanitation.bangkok.go.th/assets/uploads/document/document/20210127_22112.pdf

สมกณภัทร ธรรมสอน และ จุฑาทิพย์ เดชยางกูร. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4’Es) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวบ้านนาต้นจั่น อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย หลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายจ่ายครัวเรือน พ.ศ. 2564. สืบค้นจากhttp://www.nso.go.th/site

อริญชย์ ณ ระนอง และ วุฒิศักดิ์ เจริญวงศ์มิตร. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดเล็ก กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 2(2), 74-78.

อินทัช เอื้อสุนทรวัฒนา. (2561). ส่วนประสมการตลาด 4Es และแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Fetherstonhaugh, B. (2009). The 4P’s are out, the 4E’s are in. Retrieved from http://www.ogilvy.com/on-our-minds/articles/the_4e_-are_in.aspx

Konhausner, P, Shang, B & Dabija, DC. (2021). Application of the 4Es in Online Crowdfunding Platforms: A Comparative Perspective of Germany and China. Journal of Risk and Financial Management, 14(49), 1-19.

Okpighe, SG. (2020). The Quest to Re-Strategize Marketing Mix Strategizes: Mitigating the Effect of Covid-19 Pandamic on Consumers in Nigeria. Journal of International Conference Series, 1(6), 355-363.

Sulthana, N, Salim Said AL Dugashy, Mohammed Salim Al Rashdi, Y, Darwish Fairiya AL Bulushi, N & Ibrahim Mohammed AL Bulushi, S. (2021). 4 P’s to 4E’s How to Avoid the Risk of Unbalancing Marketing Mix to bring Development in Tourism Sector of Oman. Natural Volatiles & Essential Oils. 8(4), 14705-14716.