โครงสร้างบทสนทนาในนวนิยาย เรื่อง “ขอให้รักเรานั้นนิรันดร” ของประภัสสร เสวิกุล

Main Article Content

YU TONG
ยุพิน จันทร์เรือง
ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการศึกษาบทสนทนาในนวนิยาย เรื่อง “ขอให้รักเรานั้นนิรันดร” ของประภัสสร เสวิกุล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างบทสนทนา ได้แก่ การเปิดการสนทนา การปิดการสนทนา การผลัดกันพูด และการเปลี่ยนหัวเรื่อง โดยศึกษาจากบทสนทนาทั้งสิ้น 104 บทสนทนา ผลการศึกษาโครงสร้างบทสนทนา พบว่า การเปิดการสนทนา มี 6 รูปแบบ ได้แก่ การกล่าวถึงสิ่งที่ต้องการ คิดเป็นร้อยละ 71.15 การเรียกขาน คิดเป็นร้อยละ 13.46 การทักทาย คิดเป็นร้อยละ 9.62 ค้นหาพื้นฐาน ที่ร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ 2.89 กล่าวแสดงวัตถุประสงค์ คิดเป็นร้อยละ 1.92 และกล่าวคำขอโทษ คิดเป็น ร้อยละ 0.96 การปิดการสนทนา มี 9 รูปแบบ ได้แก่ การสรุปหัวเรื่อง คิดเป็นร้อยละ 25.00 การเสริมแรง และการแนะนำ คิดเป็นร้อยละ 18.27 การตอบรับคำถาม คิดเป็นร้อยละ 17.31 การปิดด้วยคำถาม คิดเป็นร้อยละ 6.73 การเปลี่ยนเรื่อง คิดเป็นร้อยละ 5.77 การขอบคุณหรืออำลา คิดเป็นร้อยละ 4.81 การแสดงเหตุผล และการสานต่อ คิดเป็นร้อยละ 1.92 การผลัดกันพูด มี 8 รูปแบบ ได้แก่ การใช้ประโยคสมบูรณ์/ประโยคไม่สมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 50.27 การใช้ประโยคคำถาม คิดเป็นร้อยละ 27.22 การใช้คำลงท้าย คิดเป็นร้อยละ 14.23 การซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 2.94 การใช้คำสันธาน คิดเป็นร้อยละ 2.82 การใช้คำเรียกขาน คิดเป็นร้อยละ 1.88 การกล่าวไม่จบความ คิดเป็นร้อยละ 0.35 การใช้ส่วนเสริมภาษา คิดเป็นร้อยละ 0.29 การเปลี่ยนหัวเรื่อง มี 5 รูปแบบ ได้แก่ การไม่แสดงตัวบ่งชี้ใด ๆ คิดเป็นร้อยละ 46.95 การใช้รูปคำถาม คิดเป็นร้อยละ 46.34 การใช้คำเรียกชื่อหรือคำที่อ้างถึงผู้ฟัง คิดเป็นร้อยละ 3.05 การใช้คำเชื่อมแสดง การตัดตอน และการเรียกชื่อบุคคลที่ต้องการสื่อสาร คิดเป็นร้อยละ 1.83

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรชนก นันทกนก. (2555). การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชนกลุ่มชาติพันธุ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.

ชลธิชา บำรุงรักษ์. (2539). การวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความประเภทต่าง ๆ ในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ชลธิชา บำรุงรักษ์. (2559). ภาษาและภาษาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธเนศ เวศร์ภาดา. (2543). พาณิชยศิลป์ในงานของประภัสสร เสวิกุล. กรุงเทพฯ: สยาม.

นภัทร อังกูรสินธนา. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบวัจนกรรมอ้อมในบทสนทนาในนวนิยายไทยต่างสมัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ปรารถนา บัวเชย. (2535). วิเคราะห์แนวคิดและการใช้ภาษาในนวนิยายของประภัสสร เสวิกุล. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

ปิรัญญา วงศ์ขัติย์. (2555). การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาระหว่างนักจัดรายการวิทยุคลื่น 94.0 EFM. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.

มยุรี สวัสดิ์เมือง. (2540). การศึกษาภาษาสนทนาทางโทรศัพท์ทางสถานีวิทยุข่าวสารและการจราจร (จส.100).

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

วิรัช ตามธีรนนท์. (2544). การใช้ภาษาและคู่วัจนกรรมในการค้าขาย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.