ความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กระแสเงินสด และผลการดำเนินงาน กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

อมรรัตน์ ดาวเรือง
ปานฉัตร อาการักษ์
วัฒนา ยืนยง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กระแสเงินสดและผลการดำเนินงานกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้กลุ่มประชากรจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557 – 2561 โดยยกเว้นกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน กองทุน และบริษัทที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูผลการดำเนินงาน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้น 1,974 ข้อมูล ซึ่งได้มาจากฐานข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (SETSMART) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  


ผลจากการวิจัย พบว่า กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์และอัตรากำไรสุทธิ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคาหลักทรัพย์ สำหรับกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบกับราคาหลักทรัพย์ ส่วนสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ระบุได้ ค่าความนิยม และกระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุนไม่พบความสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คัทธนิทธิ์ พุฒิประพัฒน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

จินตนา โลหิตหาญ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินกับผลการดำเนินงานความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก https://www.spu.ac.th

จีระ จันทร์ชาวนา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและกำไรสุทธิที่มีต่อราคาและผลตอบแทนหลักทรัพย์ กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก https://www.spu.ac.th

ธนพรรฒ ปัญญาเฟื่อง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

นันทนา ศรีสุริยาภรณ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาตลาดของหลักทรัพย์ของกลุ่มธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

ประภัสสร กาพย์เกิด. (2559). ผลกระทบของการวัดผลการดำเนินงานโดยวิธีมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและวิธีอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษาบริษัทกลุ่ม SET50. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

ปรัชญาทิพย์ มาสันติสุข. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดจากการดำเนินงานกับราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

พัชรสุดา ปัญญาชื่นสกุลสุข. (2551). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายการคงค้างและกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พัทธ์ธีรา จิรอุดมสาโรจน์. (2560). ความสัมพันธ์มูลค่าราคาตามบัญชี กำไรต่อหุ้นและเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มดัชนี SET 100. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25), 99-106.

ภิญญาพัชญ์ เรืองวิริยะ. (2549). ความมีคุณค่าของรายงานการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ภูษิต วงศ์หล่อสายชล, จรัญญ อนันตชัย, รวมพร วงศ์อุไร, และ คนอื่นๆ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่ม SET 100. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, 3(6), 1-18.

เมทินี ลิขิตบุญฤทธิ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

รติยา สมใจ. (2551). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ.

รพีพรรณ แสงสานนท์. (2548). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาตลาดของหลักทรัพย์ : กรณีอุตสาหกรรมพลังงานที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ลัคนา พูลเจริญ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความนิยมที่เกิดจากการซื้อธุรกิจกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

วรลักษณ์ โรจนรัตน์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนกับราคาหลักทรัพย์และกำไรในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

วารุณี ใจอารีย์. (2557). ความสัมพันธ์ของข้อมูลงบกระแสเงินสดที่มีต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก https://www.spu.ac.th

วีระวรรณ ศิริพงษ์. (2561). อิทธิพลของกระแสเงินสดต่อความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด กรณีศึกษาตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2). 111-120.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2560) เรื่องสินทรัพย์ไม่มีตัวตน. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561, จาก https://www.fap.or.th

สินีย์ ภาคย์อุฬาร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาตลาดของหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

อุษณี วรพันธ์พิทักษ์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและกำไรที่มีต่อราคาและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision marking. (4th ed). USA : John Wiley and Sons.

Call, A. C., Chen, S., and Tong, Y. H. (2013). Are analysts’ cash flow forecasts naïve extensions of their own earnings forecasts. Contemporary Accounting Research, 30(2), 438-465.

Chauvin, K. W. and Hirschey, M. (1994). Goodwill, profitability, and the market value of the firm. Journal of Accounting and Public Policy, 13(2), 159-180.

Ely, K. and Waymire, G. (1999). Intangible assets and stock prices in the pre-SEC era. Journal of Accounting Research, 37, 17-44.

Fama, E. F. (1970). Efficient capital markets: A review of thereory and empirical work. Journal of Finance, 25, 383-417.

Jennings, R. L., Robinson, J., Thompson II, R. B., et al. (1996). The relation between accounting goodwill numbers and equity values. Journal of Business Finance & Accounting, 23(4), 513-533.

Kohansal, M. R., Dadrasmoghadam, A., Mahjori Karmozdi, K., et.al. (2013). Relationship between financial ratios and stock prices for the food industry firms in stock exchange of Iran. World Applied Programming, 3(10). 512-521.

Magee, C. S. (2016). Trade creation, trade diversion, and the general equilibrium effects of regional trade agreements: A study of the European Community–Turkey customs union. Review of World Economics, 152(2), 383-399.

McCarthy, M. G. and Schneider, D. K. (1995). Market perception of goodwill : Some empirical evidence. Accounting and Business Research, 26(1), 69-81.

Oguzhan Serder and Gokhan. (2012). The rule of financial ratios in determining the stock prices. Journal of Management & Economics, 19(2), 277-288.

Ritter, A., and Wells, P. (2006). Identifiable intangible asset disclosures, stock prices and future earnings. Accounting & Finance, 46(5), 843-863.

Salvatore, Capasso. (2004). Financial markets, development and economic growth : Tales of informational asymmetries. Journal of Economic Surveys, 18(3), 12.

Yazan, Salameh Oroud. (2017). The effect of cash flows on the share price on Amman Stock Exchange. American Based Research Journal, 6(7), 22-28.