การสร้างรูปแบบซีทีจิเนียริ่งเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ในกิจกรรมสะเต็มสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปในชั้นปีที่ 4 ก่อนจะออกไปฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูในสถานศึกษา ด้วยการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มที่ดำเนินกิจกรรมด้วยรูปแบบซีทีจิเนียริ่ง (CTgineering) และศึกษาผลของการใช้รูปแบบซีทีจิเนียริ่งนี้ในประเด็นของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ความพึงพอใจต่อกิจกรรมสะเต็มด้วยรูปแบบซีทีจิเนียริ่งเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักศึกษา โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่สอดคล้องกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและรูปแบบการจัดกิจกรรมสะเต็มที่ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบซีทีจิเนียริ่งที่สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการได้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปในชั้นปีที่ 4 ที่เรียนอยู่ในวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และรูปแบบที่ใช้ในงานวิจัย คือ รูปแบบซีทีจิเนียริ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีขั้นของการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นท้าทายความสามารถ (Challenging) ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมข้อมูล (Collecting) ขั้นที่ 3 ขั้นประมวลผลข้อมูล (Processing) ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างชิ้นงาน (Creating) ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอข้อมูล (Presenting) และขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล (Assessing) โดยได้ทำการวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการกับนักศึกษาก่อนและหลังจากการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มด้วยรูปแบบซีทีจิเนียริ่ง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมสะเต็มด้วยรูปแบบซีทีจิเนียริ่ง 8 แผน แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และแบบวัดความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า
1. ได้รูปแบบซีทีจิเนียริ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นท้าทายความสามารถ ขั้นที่ 2 ขั้นรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 3 ขั้นประมวลผลข้อมูล ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างชิ้นงาน ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอข้อมูล และขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล
2. คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักศึกษารายด้านและภาพรวมหลังจากเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มด้วยรูปแบบซีทีจิเนียริ่งเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มด้วยรูปแบบซีทีจิเนียริ่งเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33, 49-56.
พลศักด์ แสงพรมศรี, ประสาท เนืองเฉลิม และ ปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(ฉบับพิเศษ), 401-418.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556ก). การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือ “สะเต็ม”. สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 19(มกราคม–ธันวาคม 2556), 3–14.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556ข). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม. สสวท., 42(185), 16
มาเรียม นิลพันธุ์. (2547). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 464460 วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). รายงานสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ STEM Education. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561, จาก http://slidshare.net/focusphysics/stem-workshop-summary
ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2558). คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
อุษา นาคทอง, ธีราพร อนันตะเศรษฐกูล และ นฤมล ยุตาคม. (2550). ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเรื่องเซลล์และกระบวนการของเซลล์. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
Akinbobola, A. O. and Afolabi, F. (2010). Analysis of science process skills in West African senior secondary school certificate physics practical examinations in Nigeria. American-Eurasian Journal of Scientific Research, 5(4), 234-240.
Breiner, J. M., Carla, C. J., Harkness, S. S. et al. (2012). What is STEM? a discussion about conceptions of STEM in education and Partnerships. School Science and Mathematics, 112(1), 3-11.