ผลการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ ด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

กิตติกุล แก้วกาหลง
ดนิตา ดวงวิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ที่พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 34 คน โดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ที่พัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผน รวมจำนวน 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยแบบเลือกตอบ จำนวน 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) เท่ากับ 0.27 - 0.65 ค่าอำนาจจำแนก (B) เท่ากับ 0.27-0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบอัตนัยจำนวน 2 ชุด ชุดละ 4 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t – test (Dependent Sample)


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ที่พัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.92/80.49 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด


2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์มีความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบซินเนคติกส์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.60)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา ศิลปะนรเศรษฐ์. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแผนผังความคิด. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

กาญจนา โทขันธ์. (2561). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บแบบซินเนคติกส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

กุสุมา หงษ์บินมา. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบซินเนคติกส์เรื่องการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2557). การเขียนเชิงสร้างสรรค์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ : Idea ดี ๆ ไม่มีวันหมด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมนครปฐม.

ทิศนา แขมมณี. (2546). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา E1/E2. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(11), 44-51.

เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์. (2560). ข้อมูลโรงเรียน. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2561, จาก https://nachuakpit.ac.th/

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์เลิฟเพรส.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). ระบบประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx

สมจิตร์ ศรีสุข. (2550). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา.

สุทธิวรรณ อินทะกนก. (2559). การเขียนเชิงสร้างสรรค์. อุดรธานี: สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

อรทัย โรจน์สุกิจ. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์.

Gordon, W. J.J. (1961). Synectics : The development of creative capacity. New York: Harper & Row.