กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพของศูนย์การเรียนชุมชนบ้านในสอย สู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

พรสวรรค์ กิตติ์ธนโฆสิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของหมู่บ้านบ้านในสอย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อจัดทำและตรวจสอบกลยุทธ์การยกระดับคุณภาพของศูนย์การเรียนชุมชนบ้านในสอยสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของหมู่บ้านบ้านในสอย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ วาระการประชุมเชิงปฏิบัติการ สรุปผลการประเมินโดยการใช้ฉันทามติ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาการดำเนินงานของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เลือกแบบเจาะจงจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ 3 หมู่บ้าน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์และสรุปเป็นความเรียง ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำและตรวจสอบกลยุทธ์การยกระดับคุณภาพของศูนย์การเรียนชุมชนบ้านในสอยสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเลือกแบบเจาะจงจากผู้เกี่ยวข้องจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ วาระการประชุมโดยใช้กระบวนการประชุมรวมพลังสร้างสรรค์แบบ AIC ซึ่งแบบตรวจสอบร่างกลยุทธ์ใช้การลงฉันทามติใน 4 ด้าน คือ ด้านความสอดคล้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านการใช้ประโยชน์


ผลการวิจัย พบว่า


1. ผลการประเมินการดำเนินงานของหมู่บ้านบ้านในสอย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไม่ผ่านการประเมินเกณฑ์มาตรฐาน 3 ด้าน 9 ตัวชี้วัด


2. ผลการดำเนินงานของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ทุกหมู่บ้านต้นแบบมีการปฏิบัติครบทั้งมาตรฐาน 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด และมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ


 3. กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพของศูนย์การเรียนชุมชนบ้านในสอยสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต้องดำเนินการ 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการประสานงานระหว่างหน่วยงาน กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร กลยุทธ์ที่ 3 การเสริมสร้างศูนย์การเรียนชุมชนบ้านในสอยสู่การเป็นศูนย์ข้อมูลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชน กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาฐานการเรียนรู้สู่ฐานเรียนรู้ชุมชนและผลการตรวจสอบกลยุทธ์ พบว่า ทุกกลยุทธ์มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ผ่านฉันทามติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. กรมการพัฒนาชุมชน. (2558). แนวทางการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงฯ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561, จาก http://www.plan.cmru.ac.th/documents_/nation/01004.pdf

ไพรินทร์ เหมบุตร. (2555). กลยุทธ์การนิเทศเพื่อพัฒนาครูมืออาชีพในเครือข่ายการนิเทศที่ 18. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณทิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. กำแพงเพชร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2542). การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ธีรฟิลม์และไชเท็กช์.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.