การออกแบบคู่มือท่องเที่ยวโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมข้อมูล การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในเขตเมืองกาญจนบุรีให้เป็นการท่องเที่ยวแบบดิจิทัล

Main Article Content

พัชรินทร์ บุญสมธป
สิทธิพงศ์ พรอุดมทรัพย์
ปรางฉาย ปรัตคจริยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การออกแบบคู่มือท่องเที่ยวโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในเขตเมืองกาญจนบุรีให้เป็นการท่องเที่ยวแบบดิจิทัล” มีวัตถุประสงค์


1) เพื่อออกแบบคู่มือแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในเขตเมืองกาญจนบุรี โดยออกแบบให้รองรับเทคโนโลยีความจริงเสริม 2) เพื่อประเมินคู่มือท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่รองรับเทคโนโลยีความจริงเสริม และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการใช้งานคู่มือท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการวิจัยประยุกต์ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวจำนวน 30 คน สำหรับทำแบบประเมินความพึงพอใจ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา จำนวน 5 แหล่ง ได้แก่ หนังสือ เอกสาร แผ่นพับ ใบปลิว และเว็บไซต์ ใช้ซอฟต์แวร์ Adobe Photoshop และ Adobe Illustrator เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคู่มือท่องเที่ยวฯ ผลการออกแบบคู่มือท่องเที่ยวฯ แบ่งออกเป็น 3 ยุค ซึ่งจะใช้สีในการแบ่งยุค 3 ยุคออกจากกัน เรียกอย่างง่ายว่า คู่มือท่องเที่ยว 3H-Tech Kanchanaburi AR โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ที่พัก ร้านอาหาร สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน QR Code ออกแบบโดยใช้ความเรียบง่ายของระบบกริดแบบคอลัมน์กริดเพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกเบา สบายตา และเป็นมิตร โดยนำเทคโนโลยีความจริงเสริมแทรกอยู่ระหว่างการอ่าน ซึ่งจะแสดงผลในรูปแบบโมเดล 3 มิติ คลิปวิดีโอ เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดอรรถรส ความเพลิดเพลิน และไม่น่าเบื่อ ผลการประเมินประสิทธิภาพคู่มือท่องเที่ยวฯ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.68 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานคู่มือท่องเที่ยวฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.73

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). 4 เดือนแรก อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560, จาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา: http://www.mots.go.th/ewt_news.php?nid=8456

กาญจนบุรี. (2560). รายชื่ออำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560, จาก https://sathai.com/geo/กาญจนบุรี

บุ๊คกิ้งดอทคอม. (2560). Booking.com เผย 8 เทรนด์การท่องเที่ยวในปี 2561. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2560, จาก บุ๊คกิ้งดอทคอม: https://news.booking.com/eight-travel-predictions-for-2018--by-bookingcom-th/

พลยุทธ พุดตาล และ จักกริช พฤษการ. (2557). ตารางธาตุเสมือนจริง. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.eng.kps.ku.ac.th/dblibv2/fileupload/project_IdDoc58_IdPro469.pdf

วิศรุต อินแหยม. ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกาญจนบุรี. สัมภาษณ์. 22 กันยายน 2560.

สมพงษ์ อำนวยเงินตรา. (2559, 25 เมษายน). การสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจโรงแรมด้วยกลยุทธ์ Blue Ocean. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 36(1), สืบค้นจาก http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Download/Format_Checker/2/23.pdf

สุพาดา สิริกุตตา. (2557). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวของจังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17, 215-230.

อานนท์ แทนไชยสง และ อภิชาติ เหล็กดี. (2558). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเสมือนจริง เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ด้วยเทคโนโลยีออคเมนต์เตดเรียลลิตี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการและเทคโนโลยีนวัตกรรม ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (หน้า 105-110). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อิสริยา เลาหตีรานนท์. (2553). หนังสือนำเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2560, จาก http://www.royin.go.th