การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชาชน ในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ภูริพัฒน์ แก้วศรี
จีระ ประทีป

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อลดปัญหาความเลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย


การศึกษาได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้วิธีการสำรวจจาก 418 ครัวเรือนการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยประชาชนและผู้นำชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 2 ขนาด โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง รวม 40 คน และการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยประชาชน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการ จำนวน 15 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง


จากการศึกษา พบว่า สภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย ด้านสิทธิและโอกาสในการรับบริการสาธารณะ ประสบการณ์ในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ชนบทแตกต่างไปจากพื้นที่ในเขตเมือง ด้านสิทธิและโอกาสในการได้รับความยุติธรรม ขาดการส่งเสริมให้ประชาชนพื้นที่ชนบทรับรู้สิทธิในกระบวนยุติธรรม ด้านการส่งเสริมให้คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ ผู้มีแนวโน้มพิการพื้นที่ชนบท ให้มีโอกาสและช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวสิทธิ สวัสดิการ และการบริการ ยังมีน้อยมาก และด้านสิทธิและโอกาสในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ประชาชนในพื้นที่ชนบทขาดโอกาสในการร้องเรียนเรื่องต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม


สำหรับศักยภาพชุมชนในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย จากการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยแบ่งศักยภาพออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านสังคม และด้านทรัพยากรธรรมชาติ


ส่วนรูปแบบแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อลดปัญหาความเลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงรายนั้น ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบดังกล่าวควรประกอบด้วย 10 องค์ประกอบหรือที่เรียกว่า Uni-equality Model

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประพิน นุชเปี่ยม. (2561). การเข้าถึงความยุติธรรมและธรรมาภิบาล. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/82427-14.pdf

ศุจิรัตน์ จันทรบาง. (2559). การศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองอุทัยธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(20), 137-150.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ

อติวิชญ์ แสงสุวรรณ. (2558). ความเหลื่อมล้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.