ผลการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เรื่อง วนอุทยานพญาพิภักดิ์ รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม

Main Article Content

สุรเชษฐ์ ศรีวิชัย
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เรื่อง วนอุทยานพญาพิภักดิ์ รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เรื่อง วนอุทยานพญาพิภักดิ์ รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เรื่อง วนอุทยานพญาพิภักดิ์ ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ในรายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียน-หลังเรียน ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เรื่อง
วนอุทยานพญาพิภักดิ์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เรื่อง วนอุทยานพญาพิภักดิ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ผลการศึกษาพบว่า


1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เรื่อง วนอุทยานพญาพิภักดิ์ รายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขุนตาลวิทยาคมที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.10


2. ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เรื่อง วนอุทยานพญาพิภักดิ์ ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม พบว่า ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยก่อนเรียนมีคะแนนรวมเฉลี่ย 7.64 คะแนน และหลังเรียนคะแนนรวมเฉลี่ย 38.32 คะแนน ซึ่งความก้าวหน้าทางการเรียนคะแนนรวมเฉลี่ย 30.68 คะแนน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้


3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยก่อนเรียนมีคะแนนรวมเฉลี่ย 8.90 คะแนน และหลังเรียนคะแนนรวมเฉลี่ย 25.32 คะแนน ซึ่งความก้าวหน้าทางการเรียนคะแนนรวมเฉลี่ย 16.42 คะแนน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้


4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เรื่อง วนอุทยานพญาพิภักดิ์ พบว่า มีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 รองลงมา คือ ประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 และด้านกิจกรรมการเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชมล จันทร์ดอน. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและพัฒนาการฟัง ดู พูด และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีวิทยาการการจัดการเรียนรู้โดยใช้บันได 5 ขั้น (Steps for student

development). พัทลุง: โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย.

กิตติ รัตนราษี และ เบญจมาภรณ์ จันทร. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) ในรายวิชา การใช้โปรแกรมสำนักงานขั้นสูงของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์. วารสารนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 1(1), 38-48.

ธัญดา นันทธรรมโชติ. (2557). การเปรียบเทียบผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 STEPs ประกอบแบบฝึกทักษะเรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2. อุบลราชธานี: โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง.

พิชญะ กันธิยะ, วีระศักดิ์ ชมพูคำ และ สกล แก้วศิริ. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(2), 137-152.

พุฒิญารัศมิ์ วรรณสุข. (2562). การพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) ที่ส่งเสริมความสามารถด้านภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดบ้านทุ่งสว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ.

รจนา ป้อมแดง. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 STEPs. อุบลราชธานี: โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง.

โรงเรียนขุนตาลวิทยาคม. (2562). รายงานการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ระดับชาติ (O–NET) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. เชียงราย: โรงเรียนฯ.

วรรษชล พิเชียรวิไล. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตัคติวิสต์ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 12(1), 37-47.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2555). คู่มือประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 - 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 5E. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 162-168.

Limbach, B., Duron, R., Limbach, B., et al. (2006, April 20). Critical thinking framework for any discipline. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education, 17(2), Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/download/96255/75170/