การสร้างแบบฝึกทักษะการฟังเพื่อจับใจความสำคัญภาษาไทยสำหรับนักศึกษาจีน ที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ

Main Article Content

LING TIANJIAN

บทคัดย่อ

งานวิจัย เรื่อง การสร้างแบบฝึกทักษะการฟังเพื่อจับใจความสำคัญภาษาไทยสำหรับนักศึกษาจีน ที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการฟังเพื่อจับใจความสำคัญสำหรับนักศึกษาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักศึกษาชาวจีนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการฟังเพื่อจับใจความสำคัญที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ในสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่มีความบกพร่องทางการฟังจำนวน 1 ห้องเรียน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบฝึกทักษะการฟัง จำนวน 10 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้การฟังเพื่อจับใจความสำคัญภาษาไทย จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องทักษะการฟัง ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 42 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการฟัง จำนวน 15 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า


1. แบบฝึกทักษะการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.56/80.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80


2. ผลสัมฤทธิ์ทางการฟังเพื่อจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะการฟังจับใจความสำคัญของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศหลังการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการฟังจับใจความสำคัญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 34.0 คิดเป็นร้อยละ 80.95 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.55 มีคะแนนพัฒนาการเท่ากับ 7.40 คิดเป็นร้อยละ 17.67 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย t-test พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01


3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการฟังจับใจความสำคัญ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) เท่ากับ 4.82 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.47

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นพดล จันทร์เพ็ญ. (2557). หลักการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เจเนซิส มีเดียคอม.

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2555). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาต่างชาติ : กรณีศึกษานักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารรามคำแหง ฉบับมนษุยศาสตร์, 31(1), 123.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประพิณ เกษมสุข. (2560). การพัฒนาทักษะการฟังเพื่อจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคการคิดวิเคราะห์แบบ 5W1H ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกู่จานวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.

ภัทรดรา พันธุ์สีดา. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ SPARPS เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยู นานวาง. (2559). การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย มาตราตัวสะกดแม่กง แม่กก แม่กด สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.

ศวิมล จันทะบาล. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการฟังและด้านการพูดภาษาจีน โดยใช้สื่อเทคโนโลยีร่วมกับเทคนิคการเสริมแรงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุจีรา สิทธิศาสตร์. (2553). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาไทยขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

สุชาดา ธูสรานนท์. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยใช้วิธีธรรมชาติสำหรับนักศึกษาชาวเกาหลี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

อุษณีย์ เสือจันทร์. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะแก้ปัญหาทางคณิศาสตร์ เรื่อง วิธีเรียนสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

อู ยิน. (2559). การใช้นิทานพื้นบ้านของไทย-จีน สร้างแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.