ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปรับตัวทางสังคมในทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1

Main Article Content

ประภัสสรา ธนะวงศ์
อนันต์ แก้วตาติ๊บ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปรับตัวทางสังคมในทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุทั้งอิทธิพลรวม อิทธิพลทางตรง และอิทธิทางอ้อม ต่อการปรับตัวทางสังคมในทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มหลายขั้นตอน จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปรับตัวทางสังคมในทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 แบ่งออกเป็นการอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมในโรงเรียน มโนภาพแห่งตน และการปรับตัวทางสังคมในทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า


1. ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการอบรมเลี้ยงดู (PAR) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 (S.D. = 0.64) รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อมในโรงเรียน (SEN) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 (S.D. = 0.57) และปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านมโนภาพแห่งตน (SEL) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 (S.D. = 0.54)


2. โมเดลที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ พบว่า = 0.74, df = 6, P = 0.99, GFI = 1.00, AGFI = 0.9, RMR = 0.00, RMSEA = 0.00, CFI = 1.00


3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุด คือ ปัจจัยสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด คือ ปัจจัยมโนภาพแห่งตน ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด คือ ปัจจัยสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลฑลี เทพศิริ. (2555). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับทางสังคมของนักเรียนชาวเขา ในระดับช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). ทักษะทางสังคม ใครคิดว่าไม่สำคัญ. นิตยสารการศึกษาวันนี้, 7(34) : 6.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศกร กากูล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) โรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่เชียงราย เขต 4. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย

มนทกานติ์ รอดคล้าย. (2560). การพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่ 21 (Child and family development in the 21th century). สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562, จาก http://www.thungyai2you.com/index.php/2018-06-21-21-15-12/2-uncategorised/ 9-21-child-and-family-development-in-the-21th-century

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และ สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2553). ทักษะชีวิต. สืบค้นเมื่อ16 ตุลาคม 2557, จาก http://www.teenrama.com

วนิดา ปรีพุฒ. (2546). ความสัมพันธระหว่างเจตคติทางสังคม มโนภาพแหงตน การปรับตัวทางสังคมกับทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเขตการศึกษา 10. (วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 (1). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศิริเพิ่ม เชาวน์ศิลป์. (2543). การปรับพฤติกรรมความวิตกกังวลทางสังคม. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

อมรพันธ์ ลิวติวงษ์. (2547). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว การเห็นคุณค่าในตนเองและการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (ปริญญาวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

อรรณพ คำมีสว่าง. (2553). รูปแบบของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ เขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.

อัญชลี ทองจันทร์. (2546). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดเพชรบุรี โดยการวิเคราะห์เส้นทาง. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.