ถอดบทเรียนองค์ความรู้แนวทางการจัดตั้งกลุ่มฝึกวิชาชีพทอผ้าไหม ในทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่

Main Article Content

จันทร์จิตร เธียรสิริ
นรพรรณ โพธิพฤกษ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนงานวิจัยให้ได้องค์ความรู้ เรื่อง แนวทางการจัดตั้ง กลุ่มฝึกวิชาชีพทอผ้าไหมในทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ข้อแนะนำเพิ่มเติม และประโยชน์ที่เกิดกับผู้ต้องขังจากการจัดตั้งกลุ่มฝึกวิชาชีพทอผ้าไหมในทัณฑสถานหญิง โดยใช้วิธีวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวิธีการเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างแบบมีจุดมุ่งหมาย หรือการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการของทัณฑสถานสถานหญิงเชียงใหม่
เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ ผู้ต้องขังหญิงทั้งจากทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่และเรือนจำจังหวัดลำพูน และเจ้าหน้าที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ศึกษาเอกสารงานวิจัย การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการศึกษาได้องค์ความรู้ เรื่อง แนวทางการจัดตั้งการฝึกวิชาชีพทอผ้าไหมในทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ สำหรับเป็นต้นแบบให้กับเรือนจำหรือทัณฑสถานอื่นที่มีความสนใจการฝึกวิชาชีพทอผ้าไหมให้กับผู้ต้องขังได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งสามารถถอดบทเรียน “แนวทางการจัดตั้งกลุ่มฝึกวิชาชีพทอผ้าไหม ในเรือนจำและทัณฑสถานหญิง” ได้ว่า ควรมีการจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุในการทอผ้าไหม การจัดเตรียมสื่อการเรียน การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดหาผู้สอน/วิทยากร/ปราชญ์ชาวบ้านสอนการทอผ้าไหม การเตรียมความพร้อมผู้เรียน การกำหนดรูปแบบวิธีการสอนทอผ้าไหม การจัดเตรียมสถานที่เรียน และการประสานหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งนี้พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดตั้งกลุ่มฝึกวิชาชีพทอผ้าไหม ประกอบด้วย พัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายได้จริง ความชัดเจนในนโยบาย และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่มฝึกวิชาชีพทอผ้าไหม มีพี่เลี้ยงที่คอยช่วยแก้ปัญหาการทอผ้าไหม จัดสรรเวลาให้มีความยืดหยุ่นในการเรียนทอผ้าไหม สรรหาผู้ต้องขังที่มีความพร้อม พัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม นอกจากนี้ได้ให้ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการจัดตั้งกลุ่มฝึกวิชาชีพทอผ้าไหมในเรือนจำและทัณฑสถาน ไว้ว่า เจ้าพนักงานราชทัณฑ์หรือผู้ปกครองโรงงานที่ดูแลใกล้ชิดผู้ต้องขังกลุ่มนี้ ต้องมีจิตวิทยาในการปกครองคน และต้องค้นคว้าหาความรู้ที่เป็นประโยชน์มาให้ผู้ต้องขังเพื่อพัฒนาการทอ ผ้าไหมให้ดียิ่งขึ้น ควรมีการสร้างแรงจูงใจในการทอผ้า ควรคัดเลือกผู้ต้องขังที่มีความสนใจในการทอผ้าไหม ควรจะได้ผู้ต้องขังที่เป็นครูสอนทอผ้าไหมประจำแต่ละขั้นตอนอย่างน้อย 1 – 2 คน ควรต้องพัฒนาผู้ต้องขังขึ้นมาเป็นครูสอนทอผ้าไหมอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายนี้ประโยชน์ที่เกิดต่อกลุ่ม/ชุมชน/ท้องถิ่น/สังคม คือ ทำให้ผู้ต้องขังเกิดความภาคภูมิใจในตนเองว่า เขาสามารถทำได้ ภาคภูมิใจในผลงานที่เขามีส่วนสร้างสรรค์ การทอ ผ้าไหมทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องขังในโรงงานทอผ้า ทำให้สนิมกันมากขึ้น ผู้ต้องขังได้เงินปันผลสำหรับซื้อของที่จำเป็นใช้ในภายในเรือนจำ หรือทัณฑสถาน ผู้ต้องขังได้อาชีพติดตัวหลังพ้นโทษ การทอผ้าไหมเป็นกลุ่มฝึกวิชาชีพที่ได้รับความสนใจ และชื่นชมจากบุคคลภายนอกเข้ามาเยี่ยมเยือนโรงงานทอผ้าอยู่บ่อย ๆ มาชื่นชมผลงาน อุดหนุนซื้อผ้าไหมที่ผู้ต้องขังทอ เปรียบเสมือนกำลังใจที่ส่งให้ผู้ต้องขัง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

จันทร์จิตร เธียรสิริ, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

งานวิจัย
จันทร์จิตร เธียรสิริ และคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาผู้ต้องขังให้เป็นครูสอนทอผ้าไหมแบบมีส่วนร่วมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ( สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น. ทุนงบประมาณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และสำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม ประจำปี 2560 ระยะเวลา 1 กรกฏาคม 2560 – 31 ธันวาคม 2561
จันทร์จิตร เธียรสิริ และคณะ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพทอผ้าไหมแบบมีส่วนร่วมของฑัณฑสถานหญิงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ( สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น. ทุนงบประมาณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ประจำปี 2558 ระยะเวลา 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
กาญจนา สมมิตร จันทร์จิตร เธียรสิริและ คณะ.(2558). การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในเขต ภาคเหนือตอนบน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ( สกว.) ทุนงบประมาณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี 2557 ระยะเวลาทำวิจัย 15 กรกฎาคม 2557 – 14 กรกฎาคม 2558
จันทร์จิตร เธียรสิริ และคณะ. (2555). การประเมินศักยภาพการตลาดท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ทุนงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2554 ระยะเวลาทำวิจัย 30 เมษายน 2553 – 30 มิถุนายน 2554
สุรีย์ บุญญานุพงศ์ จันทร์จิตร เธียรสิริ และคณะ. (2552). การจัดการท่องเที่ยวชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง :กรณีศึกษาชุมชนประวัติศาสตร์ขุนตาน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ทุนงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2552
สุพจน์ กุลปรางค์ทอง จันทร์จิตร เธียรสิริ และคณะ. (2550). แนวทางในการแก้ไขปัญหาแรงงานของสถานประกอบการในเขตภาคเหนือตอนบนแบบองค์รวม. เชียงใหม่: ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ 1 เชียงใหม่. ทุนงบประมาณ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ 1 เชียงใหม่ ประจำปี 2550
บทความวิจัย
จันทร์จิตร เธียรสิริ นรพรรณ โพธิพฤกษ์ ศิริอมร กาวีระ และคณะ (2563). แนวทางการพัฒนาผู้ต้องขังให้เป็นครูสอนการทอผ้าไหมแบบมีส่วนร่วมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 12 (2). 254 - 269.
จันทร์จิตร เธียรสิริ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทกราโนลาบาร์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เบญจมิตรวิชาการ ครั้งที่ 9 เรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (หน้า – อยู่ระหว่างการจัดทำเล่ม-). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
จันทร์จิตร เธียรสิริ ศิริอมร กาวีระ นรพรรณ โพธิพฤกษ์ และคณะ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพทอผ้าไหมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.11(3), 211 – 225.
จันทร์จิตร เธียรสิริ สุรีย์ บุญญานุพงศ์ กรวรรณ สังขกร ฉันทวัต วันดี และพิมพ์ชนก นาคะเกศ. (2555). การประเมินศักยภาพการตลาดท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่งสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 6(1), 49-62.

References

กรมการพัฒนาชุมชน สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน. (2560). แนวทางการจัดตั้งและการพัฒนากลุ่มอาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.

กรรณิการ์ ทำมา. (2557). แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพ : กรณีศึกษากลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จักสานต้นกก บ้านหว้า ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. ในการประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557 “Rethink : Social Development for Sustainability in ASEAN Community” 11-13 มิถุนายน 2557 ณ เซ็นทารา โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น (หน้า 164 – 170). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันทร์จิตร เธียรสิริ, นรพรรณ โพธิพฤกษ์, ศิริอมร กาวีระ และ คนอื่น ๆ (2563). แนวทางการพัฒนาผู้ต้องขังให้เป็นครูสอนการทอผ้าไหมแบบมีส่วนร่วมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12 (2), 254 - 269.

จันทร์จิตร เธียรสิริ, ศิริอมร กาวีระ, นรพรรณ โพธิพฤกษ์ และ คนอื่น ๆ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพ ทอผ้าไหมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11 (3), 211 – 225.

จันทร์จิตร เธียรสิริ และคณะ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพทอผ้าไหมแบบมีส่วนร่วมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

จันทร์จิตร เธียรสิริ และคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาผู้ต้องขังให้เป็นครูสอนการทอผ้าไหมแบบมีส่วนร่วมของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

มูลนิธิเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โครงการประสานพลังปัญญาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน. (2553). คู่มือการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการประสานพลังปัญญาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน มูลนิธิเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย.

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. (2559). โครงการทอผ้าไหมในทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ภายใต้โครงการคืนคนดีสู่สังคม. (แผ่นพับ). เชียงใหม่: ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.

สุวรรณี โพธิ์เศษ. (2558). แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพทอผ้าไหมของบ้านหัวฝาย ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 10 (34), 77-87.