การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) มหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อประเมินและเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) มหาวิทยาลัยบูรพา โดยประยุกต์ใช้บางส่วนของแบบจำลองการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตและบัณฑิตที่ศึกษาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2559) มหาวิทยาลัยบูรพา กรรมการประจำหลักสูตร/อาจารย์ผู้สอน และผู้ใช้บัณฑิตตามหน่วยงาน/สถานประกอบการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 217 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) มหาวิทยาลัยบูรพา ของนิสิตและบัณฑิต ผลรวมทุกด้าน
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ผลรวมด้านบริบท (Context Evaluation : C) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 อยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.92 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.39 อยู่ในระดับปานกลาง และด้านผลิตผล (Product Evaluation : P) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) มหาวิทยาลัยบูรพา ของกรรมการประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน ผลรวม
ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 อยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และคุณลักษณะบัณฑิตที่เป็นจริงของผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) มหาวิทยาลัยบูรพา ผลรวม
ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ รวม ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 และคุณลักษณะบัณฑิตที่เป็นจริง รวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 หมายความว่า อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา 1) ด้านบริบท หลักสูตรต้องปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สัดส่วนของรายวิชาต้องมุ่งเน้นวิชาเอกที่ให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้มากขึ้น 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้สอนต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพราะองค์ความรู้มีการปรับเปลี่ยนที่รวดเร็ว รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนที่ต้องทันต่อยุคสมัย 3) ด้านกระบวนการ
การจัดการเรียนการสอนต้องใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) สอนให้เกิดทักษะ ด้วยการใช้นวัตกรรมการสอน เช่น การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) การสอนแบบผสมผสาน (Blended Leaning) เป็นต้น รวมไปปถึงการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ
4) ด้านผลผลิต ควรมีการปรับปรุงสมรรถนะและอัตลักษณ์ของบัณฑิตให้ทันต่อยุคสมัยและมีการตรวจสอบสมรรถนะและอัตลักษณ์ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพฯ: ธนรัช
มารุต พัฒผล. (2556). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์.
รุจีร์ ภู่สาระ. (2546). การพัฒนาหลกัสูตร : ตามแนวปฏิรูปการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สมชาติ กิจยรรยง และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง (2550). เทคนิคการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สุนทรี คนเที่ยง. (2544). การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา. วารสารข่าวสารกองบริการการศึกษา, 12(1), 10 -19.
สุรวีร์ เพียรเพชรเลิศ. (2561). แนวคิดและแนวทางการประเมินหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร จามรมาน (2543). เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษากรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
Goodlad, John I., & Zhixin Su. (1997). Organization and the curriculum. New York, NY: Teachers College Press.
Parkay, F. W. and Hass. G, (2000). Curriculum planning : a contemporary approach. Boston: Pearson Education.
Stufflebeam, Daniel L. (1971). Education evaluation and decision making. Itasca, Illinois: F. E. Peacock Publishers.
Taba, H. (1962). Curriculum development : Theory and practice. New York: Harcourt, Brace and World.