ผลกระทบของการควบคุมภายในเงินนอกงบประมาณที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากร ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

กัลยกร พรมพิมพ์
นิตยา โพธิ์ศรีจันทร์

บทคัดย่อ

การควบคุมภายในเงินนอกงบประมาณ เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญซึ่งผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรจัดให้มีขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของ การควบคุมภายในเงินนอกงบประมาณที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากร ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในประเทศไทย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 300 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การควบคุมภายในเงินนอกงบประมาณ ด้านการขออนุมัติเงิน ด้านการเก็บรักษาเงิน และด้านการจัดทำรายงานประจำปี มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรโดยรวม ผลลัพธ์จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญ ในการนำระบบควบคุมภายในเงินนอกงบประมาณมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการคลัง. (2562). ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง. กรุงเทพฯ:กระทรวงการคลัง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การดำเนินงานนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก https://www.moe.go.th/moe/upload/ news20/FileUpload/8646-9873.pdf

กิตติศักดิ์ มะลัย. (2557). ผลกระทบของการควบคุมภายในเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2548). แนวการจัดระบบการควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์

ถาวร พรามไทย. (2558). ผลกระทบของการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชีของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

นงนุช หงส์สิงห์. (2561). ผลกระทบของประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายในที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

นวพร ศรีสวาท. (2557). ผลกระทบของคุณภาพการควบคุมภายในทางการเงินที่มีต่อประสิทธิผลองค์กรขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง.(วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

บังอร พันธ์โสภา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมภายในกับการบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.(วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8).มหาสารคาม:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารศึกษา พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก http://www.spc.ac.th/spc/ Planning_and_cooperation_depart ment/Planning_and_budgeting_work/Office_of_the_Vocational_Education_Commission_on_Educational_Administration_Regulations_-2009.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). รายงานประจำปีสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก http://bme.vec.go.th/Portals/30/ DOWNLOAD/Annual%20Report/2559.pdf

สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์, กฤษฎา มณีชัย, ชินวัฒน์ ธีรภัทรพรชัย, และกิตติวัฒน์ จำเริญสัตย์. (2559). การควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของเทศบาลตำบลในพื้นที่จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 2(2), 68.

อรธีรา สายเจริญ. (2558). ผลกระทบของการควบคุมภายในเชิงรุกที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของธุรกิจผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

Aaker, D. A., Kumar, V. and Day, G. S. (2001). Marketing research (7th ed.). New York:John Wiley and Sons.

Black, K. (2006). Business Statistics: for Contemporary Decision Making (4th ed.). New York:John Wiley and Sons.

Hair, J .F., Black, W. C., & Anderson, R. E. (2006). Multivariate data Analysis (6th Ed.). New Jersey:Pearson Education International.