ภูมิทัศน์พื้นที่สีเขียวและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสวนสาธารณะ ในเขตเทศบาลนครยะลา

Main Article Content

วิไลวรรณ วิไลรัตน์
สรียา หมัดอาด้ำ
ราศรี สวอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิทัศน์พื้นที่สีเขียวและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในเขตเทศบาลนครยะลา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน พื้นที่ศึกษา คือ สวนสาธารณะในเขตเทศบาลนครยะลา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการ จำนวน 381 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth แบบสังเกต และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดทำแผนที่ ใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางร่วมกับการบรรยายเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัย พบว่า ภูมิทัศน์กายภาพพื้นที่ที่อยู่ติดริมแม่น้ำหรือมีแหล่งน้ำเป็นบึงขนาดใหญ่มีต้นไม้ร่มรื่น มีสถานที่ขายอาหาร สะท้อนถึงภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ ผู้ใช้บริการนิยมมาพักผ่อนทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว นั่งเล่น และนั่งคุย ในขณะที่ภูมิทัศน์กายภาพที่มีสนามฟุตบอล สนามกีฬา ลู่วิ่ง อุปกรณ์ออกกำลังกาย สะท้อนถึงภูมิทัศน์วัฒนธรรม คือ ผู้ใช้บริการนิยมมาออกกำลังกายทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยระดับมาก คือ ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา สวนขวัญเมือง และสนามโรงพิธีช้างเผือก มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง คือ สนามกีฬาจารูพัฒนา สวนเลียบทางรถไฟเมืองทอง สวนมิ่งเมือง และสวนศรีเมือง มีค่าเฉลี่ยระดับน้อย คือ
สวนบ้านร่ม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ใช้บริการมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจด้านพื้นที่หรือสถานที่อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านอื่น ๆ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านระบบสาธารณูปโภค ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านระบบรักษาความปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทศบาลนครยะลา. (2562). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลนครยะลา. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2563, จาก http://www.yalacity.go.th/static/general

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ. (2558). เมืองยะลากับแนวคิดการจัดการเมือง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต.

พวงเพชร์ ธนะสิน. (2552). การเสริมสร้างภูมิทัศน์ในเทศบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สกลรัชต์ คงรอด และ อัญญาณี อดทน. (2561). ศึกษาความพึงพอใจในการใชบริการสวนสาธารณะในเขตเทศบาลนครเมืองอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 2(1), 53-62.

สรียา หมัดอาด้ำ. (2561). กิจกรรมและความต้องการใช้ประโยชน์สวนสาธารณะของประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แนวทางการจัดการพื้นที่สีเขียวสำหรับชุมชนเมืองในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

เสน่ห์ ญาณสาร. (2549). ภูมิศาสตร์เมือง. เชียงใหม่: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัจฉรา กุดวงศา. (2551). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการจัดสภาพแวดล้อมของสวนสาธารณะกรณีศึกษา : สวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถจังหวัดมหาสารคาม. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

อุบลรัตน์ หยาใส่ และ จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2557). แนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(3), 233-243.

Sauer, C. O. (1974). The Morphology of Landscape. in J. Leighly (ed.). Land and life. Berkeley, California: University of California Press.

Wolch, J.R., Byrne, J. and Newell, J.P. (2014). Urban green space, public health, and environmental justice : The challenge of making cities Just green enough. Landscape and Urban Planning, 125(1), 234–244.